-
แต่ถ้าหากเป็นความเชื่อล่ะก็ เฉลว เป็นสิ่งอันเป็นมงคล เป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์บ่งบอกถึงเขตห่วง เขตหวงห้าม เขตป้องกันสิ่งชั่วร้าย สิ่งไม่ดี ชาวบ้านจะนำเฉลวมาประกอบพิธีต่างๆเกี่ยวกับความเชื่อ อาทิ การสู่ขวัญข้าว สืบชะตา ทำบุญบ้าน ทำบุญเมือง มัดติดหน้าบ้าน ปักบนหม้อยาเพื่อรักษาสรรพคุณ ปักไว้ในที่ไม่ใช้ผีผ่าน และที่สำคัญในการประกอบการปลุกเสกที่เป็นพุทธคุณ หรือพุทธาภิเสก ก็จะมีเฉลวมัดติดกลับรั้วราชวัตร ๔ ทิศ สำหรับให้พระสงฆ์เจริญมนต์พุทธาภิเษก และรั้วราชวัตรนี้ก็ใช้กางกั้นอาณาเขตที่ประกอบพิธี โดยจะมีลักษณะเป็นรั้วสานไม้ไผ่สูงประมาณ ๑ เมตร โดยจะใช้ไม้ไผ่สานเป็นแนวทแยง ตลอดทั้งรั้วจะมีการผูกเฉลวโดยรอบ
-
เฉลวถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง ที่เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งหวงห้ามอันมีเจ้าของอยู่แล้ว เป็นสัญลักษณ์ความพิเศษอีกด้วย โดยเฉพาะหม้อต้มยา หลังจากปิดหรือไม่ปิดด้วยใบตองอ่อนก็ดี จะมีการปักเฉลวเล็กไว้บนหม้อต้มยา มีนัยว่าเพื่อบอกว่าหม้อนี้คือยาต้มนะไม่ใช้น้ำต้มหรือแกงต้ม แต่ทางความเชื่อแล้วหม้อยามีครูบาอาจารย์มีสิ่งศักดิ์สิทธ์สถิตอยู่ เพื่อรักษาคุณยาที่ต้มทั้งปวง โบราณจารย์กล่าวว่าอย่าให้ผีข้ามหม้อยา เพราะจะทำให้ยาต้มเสื่อมคุณประโยชน์ ดังนั้นเฉลวเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ป้องกันผีร้ายหรือสิ่งชั่วร้ายทำลายคุณของยา ในการสู่ขวัญข้าว เฉลวถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันมีให้ผีร้ายเข้ามาทำลายพระแม่โพสพ
-
ในชาวล้านนามีต๋าแหลวอีกประเภทหนึ่ง สานง่ายแต่สานเป็นยาก เพราะมั้นมีลักษณะพิเศษคือมีเจ็ดชั้น สานต่อกันโดยสานต่อไปเรื่อยๆ และสามมารถสามารถต่อชั้นขึ้นไปได้อีก และอย่าเข้าใจผิดว่าสานเจ็ดอันเอามามัดรวมกันล่ะคับ ความยากคือการต่อชั่นแต่ละชั้น ถ้าต่อผิด ถึงจะดูเหมือนต๋าแหลวแต่นั่นไม่ใช่ต๋าแหลว เราชาวเหนือมีชื่อเรียกต๋าแหลวนี้หลายชื่อ ต๋าแหลวเจ็ดจั้น ต๋าแหลวใบคา ต๋าแหลวคาเขียว ต๋าแหลวหญ้าคา เป็นต้น ก็คือต๋าแหลวนี้มี ๗ ชั้น แล้วนำคามาสานพันธ์กันใช้ขึงติดกับตาแหลว ดังนั้นเข้าจึงเรียกว่า ต๋าแหลวคาเขียว เพราะใบคาที่นำมาสานพันกันเป็นสีเขียว
ประเภทของตาแหลวในล้านนา มีอยู่หลายประด้วยกัน โดยเราจะแบ่งง่ายตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งจะแบ่งได้ ๔ ประเภท คือ
๑. ตาแหลวหลวง เป็นตาแหลวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาตาแหลวทั้งหมด มีลักษณะเป็นตาแหลว ๖ แฉก และ ๘ แฉก ใช้ตอกไม้ไผ่จำนวน ๔๒ เส้นในการสานตาแหลวหลวงนี้ มักถูกใช้ในงานสืบชะตาบ้านชะตาเมือง สืบชะตาหลวง หรือใช้สำหรับให้คน สัตว์ ลอดผ่าน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้ได้ลอดผ่านใต้ตาแหลว ขจัดสิ่งช่วร้ายและความอัปมงคลทั้งหลาย ตาแหลวหลวงบางครั้งก็มีลักณะเป็นตอกไม้ไผ่สานเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม โดยสานลายตาหกเหลี่ยม เป็นแผ่นขนาดใหญ่
๒. ตาแหลว ๗ ชั้น หรือตาแหลวคาเขียว ดั้งที่บรรยายไว้ข้างต้น ใช้ในพิธีกรรมพื้นเมือง เช่น พิธีสืบชาตา หรือประดับไว้ตรงบนประตู หรือทางเข้าบ้าน หรือหน้าบ้าน เพื่อดักความชั่วร้ายและสิ่งอัปมงคล หากผู้ใดได้ลอดตาแหลว ก็สามารถขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายนั้นออกไปจากตัวได้
๓. ตาแหลวแม่หม้าย คล้ายกับตาแหลว ๗ ชั้น มีลักษณะเหมือนกงจักร จะถูกสานด้วยตอก ๖ เส้น ให้มีลักษณะเป็นตา หกเหลี่ยมอยู่ตรงกลาง ส่วนปลายของไม้ทั้งสองด้านถูกพับให้งอในมุม ๙๐ องศา ใช้กับพิธีกรรมแฮกข้าว ทำขวัญต้นข้าว หรือก่อนปลูกข้าวและก่อนข้าวตั้งร่วง โดยจะเรียกว่า “หมายนา” ขึ้นรั้วสานสี่แจ่ง ใส่ตาแหลวแม่หม่ายไว่ทั้ง ๔ มุม มีปลาสาน มีกุ้งสานแขวน ไว้ป้องกันภูตผีร้ายมาทำร้ายพระแม่โพสพ กันแมลงสิ่งอัปมงคลมารบกวนข้าว และเป็นการทำขวัญพืชพรรณยาหารให้เกิดความอุดมสมบูรณ รวมทั้งตาแหลวที่หักมุมตรงปลายนี้ยังเน ตาแหลวหม้อยาที่ปักไว้บนหม้อยาเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้ายข้ามหม้อยา ทำให้ยาไร้สรรคุณ เมื่อปักตาแหลวหม้อยาแล้ว จะป้องกันภ฿ตผีร้ายมาข้ามหม้อยา ทำให้คงสรรพคุณยาได้
๔. ตาแหลวหมาย ใช้เป็นตัวกำหนดเขตในการครอบครองพื้นที่ทำกิน เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ หากผู้ใดมาพบเห็นก็จะได้ไม่ล่วงเกิน เช่น ห้ามฉี่รด ห้ามถมน้ำลาย ห้ามทิ้งขยะสิ่งสกปรก และแย่งชิง
ติดต่อบูชา LINE : @namotasa