-
ที่มาของ “ไสยศาสตร์” ส่วนใหญ่อาศัยการวิเคราะห์ศัพท์ จากภาษาบาลีมักมีการให้อรรถาธิบายว่า คำว่า “ไสย” มาจากคำว่า “เสยฺย” ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า “ประเสริฐ” จึงทำให้แปลว่า “ไสยศาสตร์” ว่า เป็น “ศาสตร์อันประเสริฐ”
- การอธิบายทฤษฎีนี้ ก็มิได้ให้ความสนใจแก่คำว่า “ศาสตร์” ซึ่งเป็นศัพท์จากภาษาสันสกฤต ขณะเดียวกัน บางท่านอธิบายว่า คำว่า “ไสย” มาจากคำว่า “ไสยาสน์” ซึ่งแปลว่า “นอน” และแปลคำว่า “ไสยศาสตร์” ว่าเป็น “ศาสตร์แห่งความหลับใหล” กระนั้นก็ยังมีคำอธิบายที่มาของศัพท์นี้ว่า มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตเช่นกัน คำว่า “ไสยศาสตร์” เป็นคำศัพท์ที่รากมาจากภาษาสันสกฤตโดยตรง คือ เป็นคำสมาส “ศาสตร์” หมายถึงแขนงหนึ่งของความรู้ และ “ไสย” มาจาก “ไศวะ” ซึ่งเป็นศัพท์สันกสฤต ที่เกิดจากการพฤตสระจากคำว่า “ศิวะ” โดยที่สระอิถูกพฤตให้เป็นสระ “ไอ” และ “ว” แปลงสภาพเป็น “ย” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายตามหลักของภาษาศาสตร์ เพราะทั้ง “ว” และ “ย” นั้น เป็นพยัญชนะกึ่งสระ ซึ่งมีฐานกรณ์เดียวกัน เสียง “ว” จึงกลายเป็น “ย” ได้อย่างง่ายดาย
- ในขณะเดียวกัน “ศ” กลายเป็น “ส” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางเสียงที่เกิดขึ้นได้ง่ายในภาษาไทย เนื่องจาก “ศ” “ษ” และ “ส” นั้น ต่างออกเสียงเหมือนกัน คือ “ส” แทนได้ทั้งหมด
- ไสยศาสตร์ นั้น มิใช่เรื่องไม่มีเหตุมีผล แต่เป็นเรื่องของการใช้ “อำนาจ” ซึ่งมีระบบของเหตุผล หลักการ แหล่งของอำนาจหรือความศักดิ์สิทธิ์ อุปกรณ์ และกระบวนการต่างๆ อันมีขั้นตอน เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์ ที่ผู้ประกอบพิธีตั้งความปรารถนาไว้ ปัจจัยต่างๆ ของพิธีกรรมทางไสยศาสตร์นั้น มีศูนย์กลางอยู่ที่ผู้ประกอบพิธี มิใช่เกิดขึ้นลอยๆ โดยที่ประกอบพิธีนั้น เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุด สามารถบงการให้เกิดสิ่งต่างๆ ซึ่งอยู่นอกกรอบของเหตุผลของสามัญสำนึกของสามัญชนจะคาดหวังได้
- พิธีกรรมทางไสยศาสตร์นั้น จะบรรลุผลได้ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขของพิธีกรรมทั้งหมดได้บรรลุ สิ่งนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นการควบคุมคุณภาพของผู้ประกอบพิธีกรรม ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ โดยมีการแบ่งแยกที่ชัดเจน ระหว่างผู้ประกอบพิธี (คนใน) และผู้อื่นที่เข้าร่วมพิธี (คนนอก) ยิ่งพิธีกรรมที่มีความศักดิ์สิทธิ์เท่าใด ช่องว่างและเงื่อนไขที่แบ่งแยกระหว่างคนในและคนนอกยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้นเท่านั้น พร้อมกันนั้น คือ ความลึกลับที่คนในเท่านั้นที่มีสิทธิ์ที่จะเข้าใจ ส่วนคนนอกเป็นพวกที่ไม่มีสิทธิ์จะเรียนรู้สาระของพิธีกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเลย
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของไสยศาสตร์ คือ การร่ายมนตร์ หรือ คาถา ของผู้ประกอบพิธี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ได้จังหวะที่พอเหมาะพอดีกับขั้นตอนต่างๆ ตลอดพิธีกรรม
- การสาธยายมนตร์นี้ คือ ความเชื่อที่ว่า “อักขระนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีวันสูญสลาย” และมนตร์ต่างๆ ที่ผู้ประกอบพิธีได้เปล่งออกจากปากของตนแล้ว ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถยังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นได้ตรงตามวัตถุประสงค์ หากผู้สาธยายมนตรามีพลังจิตแรง อำนาจแห่งพมนต์ยิ่งทวีความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งยวด
ความอัปมงคลจะกลายเป็นมงคล เคราะห์ร้ายจะกลับกลายเป็นโชคดี ยิ่งผู้ร่ายเวทย์มนตราคาุถา ส่งความรัก เมตตา ปรารถนาดี พรอันดีงามแผ่พลังงานออกไปมากเท่าไหร่ จิตหนักแน่น สงบนิ่ง มั่นคงในถ้อยสาธยายมนต์เท่าใด อำนาจแห่งมนตรานั้นก็จักยิ่งทวีพลังอำนาจอย่างทวีคูณ
ติดต่อบูชา LINE : @mayakarnlanna