สมัยหนึ่ง พระสารีบุตรมีความปริวิตกในจิตด้วยความกรุณาแก่ประชุมชนผู้เกิดมาภายหลังว่า ธรรมอันใดที่จักให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติในธรรมนั้นๆเพื่อป้องกันรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยจากอบายภูมิทั้งสี่ มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน จึงกระพุ่มหัตถ์ถวายบังคมแก่สมเด็จพระบรมศาสดาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญบุคคลทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้มีปัญญาแต่ยังหนาด้วยโมหะอวิชชาหารู้จักบารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้นไม่ เพราะความที่ตนเป็นอันธพาล จะพึงกระทำบาปกรรมทั้งปวงอันเป็นเหตุนำตนให้ไปบังเกิดในนรกอเวจี ข้าแต่ผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญธรรมอันใดอันหนึ่งเล่าจะลึกซึ้งสุขุมเพื่อเป็นเหตุที่ห้ามมิให้สัตว์ทั้งหลายนั้นตกไปในนรกอเวจีจะมีอยู่บ้างหรือไม่พระพุทธเจ้าข้า
อานิสงส์พระอาการะวัตตาสูตร
ดูก่อนสารีบุตร ในราตรีอันใด พระตถาคตได้ตรัสรู้ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ โพธิมณฑลก็ในราตรีนั้นแล พระตถาคตระลึกถึงพระอาการะวัตตาสูตรนี้ อันมีคุณานุภาพเป็นที่รักษาต่อต้านภัยและเป็นที่ซ่อนเร้นอันตรายต่างๆ สามารถห้ามเสียซึ่งบาปธรรมทั้งปวง ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เจริญพระอาการะวัตตาสูตรนี้ แม้เพียงครั้งหนึ่งจะคุ้มครองภัยอันตราย ๓๐ ประการ ได้ถึง ๔ เดือน ยกเว้นแต่ภัยอันตรายที่บังเกิดขึ้นแล้วแต่ผลวิบากแห่งอกุศลกรรมเท่านั้น ถ้าผู้ใดเจริญพระสูตรนี้เป็นนิจบาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงไปในสันดานเว้นแต่กรรมเก่าจะตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียนได้ใช้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าให้ผู้อื่นได้เลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชาเคารพนับถือพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ ก็ดีผู้นั้นจะปรารถนา พระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ หรือจะปรารถนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็จะส่งผลให้สำเร็จสมความปรารถนาทุกประการ
พระอาการะวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี พระตถาคตเจ้าของเราองค์ปัจจุบันนี้ก็ดี มิได้สละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงเจริญรอยตามพระสูตรนี้มาทุกพระองค์ พระสูตรนี้จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าพระสูตรอื่น ไม่มีธรรมอื่นใดจะเปรียบให้เท่าถึงเป็นธรรมอันสงบระงับได้โดยแท้ ถ้าผู้ใดได้ท่องจำพระสูตรนี้จนสามารถจำจนคล่องปากก็จะปิดบังห้ามไว้ไม่ให้ไปสู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน ๙๐ แสนกัลป์ หากผู้ใดตามระลึกเนืองๆก็จะทำให้สำเร็จวิชชา ๓ และอภิญญา ๖ ประการ
ยังทิพพะจักขุญาณให้บริสุทธิ์ แม้หากมีการรีบร้อนออกจากบ้านไปก็จะไม่อดอาหารระหว่างทางที่ผ่านไปจะเป็นที่พึ่งอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอาหารภัยอันตรายศัตรูหมู่ปัจจามิตรต่างๆไม่อาจมาครอบงำย่ำยีได้ นี่เป็นอานิสงค์ที่ให้ผลในภพปัจจุบันชาตินี้ ส่วนอานิสงค์ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้นผู้ใดได้เจริญพระสูตรนี้อยู่เนืองนิจเมื่อจุติในภพเบื้องหน้าจะบริบูรณ์ด้วยโภคะสมบัติสมบูรณ์ด้วยรัตนมณีอันเหลือล้นประกอบด้วยเครื่องอลังการวิจิตรภูษิตพรรณต่างๆจะเป็นผู้มีกำลังมากสามารถชนะข้าศึกศัตรูหมู่ไพรีต่างๆทั้งจะมีผิวพรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติมีปราสาทตราที่รุ่งเรืองงดงามสามารถแลเห็นรูปต่างๆได้ทั่วทิศและจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส์อยู่ ๓๖ กัลป์โดยประมาณและจะได้เป็นบรมจักรพรรดิราชผู้เป็นใหญ่ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒๐๐๐ เป็นบริวารนานถึง ๓๖ กัลป์ โดยประมาณ จะถึงพร้อมด้วยปราสาทอันเต็มไปด้วยทองคำบริบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ ซึ่งเป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราชจะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนานหากยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสารอานิสงส์ก็ยังคงรักษาตามประคองไปให้มีปัญญาเฉียบแหลมว่องไว สุขุม ละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาณอวสานที่สุดแห่งชาติก็จะได้บรรลุพระนิพพาน อนึ่งถ้ายังไม่ถึงนิพพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้งสี่ มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉานและมหานรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุม ช้านานถึง ๙๐ แสนกัลป์ และจะไม่ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นบุคคลอันมี ๒ เพศ จะไม่ไปเกิดเป็นบันเฑาะก์ เป็นเพศที่สามหรือที่เป็นอภัพพะบุคคล บุคคลผู้นั้นไปเกิดในภพใดๆจะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานดีดุจทองธรรมชาติเป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชนผู้ได้พบเห็นจะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยจึงจะตายจะเป็นคนมีศีลศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน อันตรายความเลวทรามและภัยพิบัติต่างๆก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์ผลที่ได้สวดมนต์ได้สดับฟังพระสูตรนี้ด้วยประสาทจิตอันผ่องใสเวลามรณะสมัยใกล้จะตายก็จะไม่หลงสติจะดำรงไว้แต่ในทางสุคติเสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ทุกประการ
นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบ ซึ่งพระสูตรอันเจือปนด้วยพระธรรมวินัยปรมัตถ์อันมีนามบัญญัติว่า พระอาการะวัตตาสูตรนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงพอกพูนศรัทธาความเชื่อ ความเลื่อมใสในพระสูตรนี้ด้วยการหมั่นศึกษาอบรมเจริญพระสูตรนี้อยู่เนืองนิจเพื่อความเจริญงอกงามไพบูลย์ในศรัทธาตั้งมั่นในคุณานิสงส์อันยิ่งใหญ่แห่งพระสูตรนี้และเพื่อเป็นการเผยแผ่บทสวดพระอาการะวัตตาสูตรนี้ให้แก่มหาชนทั้งหลายเพื่อเป็นการช่วยบรรเทาภัยพิบัติต่างๆ ที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคตกาลอันใกล้นี้และด้วยเดชแห่งผลานิสงส์ที่ข้าพเจ้า บิดามารดาและผู้จัดทำได้ร่วมกันเผยแผ่บทสวดพระอาการะวัตตาสูตรนี้ ขออำนาจแห่งคุณพระบารมีทั้งหลายของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์โปรดดลบันดาลให้สำเร็จสมความมุ่งมาดปรารถนาของบิดามารดาและข้าพเจ้าพร้อมทั้งผู้จัดทำรวมทั้งผู้ร่วมกันเผยแผ่ทุกประการ (เทอญ)
บทอาการะวัตตาสูตร
เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน มะหิทธิโก มหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวโจ
อิติปิโส ภะคะวา อะสุภะรัภภะ สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะโลกา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุ สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาโปธาตุ สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เตโชธาตุ สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วาโยธาตุ สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสะธาตุ สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา จาตุมหาราชิกา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตาวะติงสา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ยามา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ดุสิตา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิมมานะระดี เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตดี เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พรัหมะปุโรหิตา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มหาพรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปริตรตาภา พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัปปมาณาภา พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อาภัสรา พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปริตตสุภา พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัปปมาณสุภา พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุภกิณหา พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เวหัปผลา พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อสัญญีสัตตา พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อวิหา พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อตัปปา พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุทัสสา พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุทัสสี พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อกนิฏฐะ พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายตนะ พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณัญจายตนะ พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อากิญจัญญายตนะ พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เนวสัญญานาสัญญายตนะ พรัหมา เทวา สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสดาปัตติมัคโค สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสดาปัตติผะโล สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคโค สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะกิทาคามิผะโล สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิมัคโค สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะนาคามิผะโล สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะมัคโค สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะผะโล สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นิพพานัง ปะระมัง สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นะโม เม สัพพะพุทธานัง สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นะโม โพธิมุตตะมัง สัมมา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ตัณหังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เมธังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สะระณังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ทีปังกะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โกญฑัญโญ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา มังคะโล นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุมะโน นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เรวะโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โสภิโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะโนมะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะทุโม นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา นาระโท นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปะทุมุตตะโร นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุเมโธ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุชาโต นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปิยะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อัตถะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ธัมมะทัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิทธัตโถ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ติสโส นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา ปุสโส นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา วิปัสสี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สิขี นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา เวสสะภู นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กะกุสันโธ นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โกนาคะมะโน นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา กัสสะโป นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา โคตะโม นามะ ภะคะวา สมาธิปัญญาคุณะสัมปันโน
ตังโข ปะนะ ภะคะวันตัง โคตะมัง เอวัง กัลยาโน กิตติสัทโท อัพพุคคะโต อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ โส อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรัหมะกัง สัสสะมะณะพรัหมะณิง ปะชัง สะเทวะมนุสสัง สะยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ โส ภะคะวา จักขุภูโต ญาณะภูโต ธัมมะภูโต ตัสสะทา ปะวัตตา อัสสะชะเนนตา อะมะตัสสะ ทาตา ธัมมะสามิ ธัมมะสามิ ธัมมะราชา ธัมมังเทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพะยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ สาธุ โข ปะนะตะถารูปา
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง
พระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้ปราศจากกิเลส
อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
พระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
พระพุทธเจ้า ทรงเพียบพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ
อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต
พระพุทธเจ้าทรงเสร็จสู่พระนิพพาน
อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู
พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งความจริงของโลก
อิติปิโส ภะคะวา อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมนุสสานัง
พระพุทธเจ้าทรงเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
อิติปิโส ภะคะวา ภะคะวาติ
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรมสั่งสอนสัตว์
พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแล้วในคุณเพราะเหตุอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๑
อิติปิโส ภะคะวา อภินีหาระ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระบารมีอำนาจแห่งบุญที่สร้างสมไว้และทรงบำเพ็ญเพียรมาด้วยพระองค์เอง
อิติปิโส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีอารมณ์สดใสแห่งธรรมมีจิตใจที่เบิกบาน
อิติปิโส ภะคะวา ปนิธานะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีสติปัญญาและไหวพริบอันเยี่ยมยอดยิ่งใหญ่หาที่สุดประมาณ
อิติปิโส ภะคะวา มหากรุณา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ที่จะช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์
อิติปิโส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีญาณเป็นเครื่องรู้แห่งจิตในธรรมที่ได้ทรงตรัสรู้แล้ว
อิติปิโส ภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีธรรมเป็นเครื่องสรุปด้วยเหตุและปัจจัยในการเกิดและดับแห่งอารมณ์
อิติปิโส ภะคะวา ยุติ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีธรรมที่นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
อิติปิโส ภะคะวา ชุติ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีธรรมแห่งพระพุทธองค์ที่มีอานุภาพอันสว่างโชติช่วงดั่งดวงอาทิตย์
อิติปิโส ภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเสด็จลงสู่พระครรภ์มารดาในท่านั่งสมาธิ
อิติปิโส ภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในพระครรภ์มารดาโดยนั่งขัดสมาธิ ๑๐ เดือน
อภินีหาระวัคโค ทุติโย
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแล้วในอำนาจแห่งบารมี
ที่สร้างสมไว้ด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๒
อิติปิโส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมในฐานะที่ทรงดำรงอยู่รอดในพระครรภ์มารดา
อิติปิโส ภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีความเพียบพร้อมปราศจากมลทินในการประสูติ
อิติปิโส ภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีความเพียบพร้อมในพระชาติอันอุดมยิ่ง
อิติปิโส ภะคะวา คติ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีแนวทางแห่งการดำเนินไปเพื่อการหลุดพ้น
อิติปิโส ภะคะวา อภิรูปะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระรูปโฉมที่สง่างามยิ่ง
อิติปิโส ภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีผิวพรรณอันงดงามยิ่ง
อิติปิโส ภะคะวา มหาสิริ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่รวบรวมมงคลอันประเสริฐและเป็นมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่
อิติปิโส ภะคะวา อาโรหะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมในการเจริญวัย
อิติปิโส ภะคะวา ปณีตะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมในพระบารมีอันผันแปร
อิติปิโส ภะคะวา ปริณามะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแห่งการเป็นผู้นำ ผู้เป็นใหญ่
อิติปิโส ภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมในการประสูติคลอดสำเร็จ
คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแล้วในฐานะแห่งบารมี
ด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๓
อิติปิโส ภะคะวา อภิสัมโพธิ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีธรรมแห่งการตรัสรู้
อิติปิโส ภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยศีล
อิติปิโส ภะคะวา สมาธิขันธะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีความตั้งใจมั่นในความสงบแห่งจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว
อิติปิโส ภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีความพอใจพยายามเพื่อทำให้แจ้งในอริยสัจสี่
อิติปิโส ภะคะวา ทวัตติงสะมหาปุริสะลักขณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษที่มีลักษณะงดงามครบทั้ง ๓๒ ประการ
อภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแล้วในฐานะแห่งบารมี
ด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๔
อิติปิโส ภะคะวา มหาปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุรุษผู้มีพระมหาปัญญาอันรอบรู้ชัดทรงหยั่งรู้ในเหตุผลทุกสรรพสิ่งอันยิ่งใหญ่
อิติปิโส ภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุรุษผู้มีพระปัญญาอันหนาแน่น
อิติปิโส ภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุรุษผู้มีพระปัญญาอันร่าเริง
อิติปิโส ภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุรุษผู้มีพระปัญญาอันว่องไว
อิติปิโส ภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุรุษผู้มีพระปัญญาอันกล้าแข็ง
อิติปิโส ภะคะวา นิพเพธิกะปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุรุษผู้มีพระปัญญาอันเจาะแทงกิเลส
อิติปิโส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุรุษผู้มีตาปัญญาตั้ง ๕ ทรง ประกอบด้วยคุณอันยิ่งใหญ่เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้
อิติปิโส ภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุรุษผู้ทำความรู้แห่งรสธรรมอันยอดเยี่ยม
มหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแล้วในฐานะแห่งบารมี
ด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๕
อิติปิโส ภะคะวา ทานะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยการให้การเสียสละ
อิติปิโส ภะคะวา สีละ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยการรักษา กาย วาจา ใจ ให้อยู่ในหลักความประพฤติที่เรียบร้อยดีงามและถูกต้อง
อิติปิโส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยการออกบวช ปลีกตัว
ปลีกใจจากกาม
อิติปิโส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความรอบรู้ ความหยั่งรู้เหตุและผลเข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงและรู้จักแก้ไขปฏิบัติจัดการต่างๆ
อิติปิโส ภะคะวา วิริยะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความเพียรความแกล้วกล้าพยายามบากบั่นไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่
อิติปิโส ภะคะวา ขันติ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความอดทนความทนทานของจิตใจให้สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจของเหตุผลที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจของกิเลส
อิติปิโส ภะคะวา สัจจะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความจริง พูดจริง ทำจริง และจริงใจ
อิติปิโส ภะคะวา อธิฏฐานะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความตั้งใจมั่นการตัดสินใจเด็ดเดี่ยววางจุดหมายของตนไว้แน่นอนและดำเนินตามนั้นแน่วแน่
อิติปิโส ภะคะวา เมตตา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความรักใคร่ปรารถนาดีคิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุข
อิติปิโส ภะคะวา อุเบกขา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยการวางใจเป็นกลาง ไม่สุข ไม่ทุกข์ วางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรมและดำรงอยู่ในธรรม
ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแล้วในฐานะแห่งบารมี
ด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๖
อิติปิโส ภะคะวา ทะสะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีระดับต้น ๑๐ ประการได้แก่ ทานบารมี เป็นต้น เช่น สละทรัพย์สินเงินทอง
อิติปิโส ภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีอุปบารมีระดับรองหรือจวนจะสูงสุด เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะเป็นทาน
อิติปิโส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี ทานปรมัตถ บารมีระดับสูงสุดได้แก่ การสละชีวิตเป็นทานเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
อิติปิโส ภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยการบำเพ็ญทั้ง ๑๐ บารมีครบ ๓ ขั้น หมายถึงบารมี ๓๐ ทัศ
อิติปิโส ภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความหยั่งรู้ในฌาน และองค์ฌานตามลำดับ
อิติปิโส ภะคะวา อภิญญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง
อิติปิโส ภะคะวา สะติ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความระลึกได้ ได้แก่ สัมมาสติอันประกอบด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม
อิติปิโส ภะคะวา สมาธิ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความมีใจตั้งมั่นที่มั่นคงมีจิตใจแน่วแน่มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวในสัมมาสมาธิ อันประกอบด้วย ฌาน ๑-๔
อิติปิโส ภะคะวา วิมุตติ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความหลุดพ้นจากกิเลส
อิติปิโส ภะคะวา วิมุตติญาณะทัสสะนะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นจากกิเลส
อิติปิโส ภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต
ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแล้วในฐานะแห่งบารมี
ด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๗
อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะวิชชา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาคือความรู้ จรณะคือ ความประพฤติ ปัญญาที่พิจารณาถึงสังขาร คือ นามรูปโดยไตรลักษณ์ที่ต่างกันออกไปเป็นชั้นๆต่อเนื่องกัน
อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาญาณะวิชชา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีในวิปัสสนาวิชชา ในวิชชา ๓ และ จรณะ ๑๕
อิติปิโส ภะคะวา มโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยฤทธิ์สำเร็จด้วยใจฤทธิ์ทางใจคือนิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้
อิติปิโส ภะคะวา อิทธิวิธีวิชชา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยการแสดงฤทธิ์ต่างๆได้คือ เดินบนน้ำ เป็นต้น
อิติปิโส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยการมีหูทิพย์ คือ ได้ยินเสียงที่เกินความสามารถของมนุษย์
อิติปิโส ภะคะวา ปะระจิตตะปริญญาณะวิชชา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความรู้ที่สามารถกำหนดรู้จิตใจของผู้อื่นได้
อิติปิโส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีในการระลึกชาติได้
อิติปิโส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี มีตาทิพย์เห็นความตายและการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย
อิติปิโส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะวิชชา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีญาณหยั่งรู้ถึงที่สุดแห่งกิเลส
อิติปิโส ภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความประพฤติและความรู้อย่างยอดเยี่ยม
อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยความประพฤติแห่งธรรมและความรู้แจ้งด้วยปัญญาตามความเป็นจริง
อิติปิโส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยการมีธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับแล้ว
วิชชาวัคโค อัฏฐะโม
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมในวิชชาด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๘
อิติปิโส ภะคะวา ปริญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงกำหนดรู้ในทุกข์ ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่สบายกายไม่สบายใจคับแค้นใจ ต้องเจอกับสิ่งที่ไม่พอใจ ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น กล่าวโดยย่อการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็นกายของเรา เป็นจิตของเรา เป็นตัวทุกข์
อิติปิโส ภะคะวา ปะหานะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงละตัณหาทั้ง ๓ ได้แก่
๑. กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ทาง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นึกคิด
๒. ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในความมีความเป็นอยากให้เป็นอย่างนั้นอยากให้เป็นอย่างนี้ มีความเห็นว่าเที่ยง อยากในภพ
๓. วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น อยากไม่ให้เป็นอย่างนั้น อยากไม่ให้เป็นอย่างนี้ มีความเห็นว่าตายแล้วดับสูญ
อิติปิโส ภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงทำให้แจ้งหรือทรงทำให้สำเร็จได้แก่การ สละ วาง ปล่อย ไม่พัวพัน
อิติปิโส ภะคะวา ภาวนา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงทำให้เจริญในข้อปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์มี ๘ ประการ ได้แก่
๑. สัมมาทิฏฐิ } หมวด ปัญญา
๒. สัมมาสังกัปโป } หมวด ปัญญา
๓. สัมมาวาจา } หมวด ศีล
๔. สัมมากัมมันโต } หมวด ศีล
๕. สัมมาอาชีโว } หมวด ศีล
๖. สัมมาวายาโม } หมวด สมาธิ
๗. สัมมาสติ } หมวด สมาธิ
๘.สัมมาสมาธิ } หมวด สมาธิ
อิติปิโส ภะคะวา ปริญญา ปะหานะ สัจฉิกิริยา ภาวนา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาญาณตรัสรู้ว่า ทุกข์ ควรกำหนดรู้ สมุทัย ควรละ นิโรธ ควรทำให้สำเร็จ มรรค ควรทำให้เจริญ
อิติปิโส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงทั้ง ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทุกข์
๒. เหตุให้เกิดทุกข์
๓. ความดับทุกข์
๔. ข้อปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์
อิติปิโส ภะคะวา ปฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงแตกฉานมีพระปรีชาญาณเป็นเครื่องรู้ในธรรม
ปริญญาวัคโค นะวะโม
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมแล้วด้วยการกำหนดรู้ในธรรม
ด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๙
อิติปิโส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีธรรมอันเป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรคมี ๓๗ ประการ
อิติปิโส ภะคะวา สติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเจริญสติปัฏฐาน ๔ อันประกอบด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม
๑. กายานุปัสสนา คือ การตั้งสติพิจารณากาย ดูลมหายใจเข้าและออก สั้นหรือยาว ก็กำหนดรู้และดูอิริยาบถ พิจารณาว่ากายนี้เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น เป็นแค่เพียงธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุอากาศ มารวมกันชั่วคราวไม่นานก็กลายเป็นซากศพในลักษณะต่างๆ
๒. เวทนานุปัสสนา คือ การตั้งสติพิจารณาเวทนา ได้แก่ สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ สุขแบบมีอามิสและสุขแบบไม่มีอามิส ทุกข์แบบมีอามิสและทุกข์แบบไม่มีอามิส ไม่สุข ไม่ทุกข์แบบมีอามิสและไม่สุข ไม่ทุกข์แบบไม่มีอามิส
๓. จิตตานุปัสสนา คือ การตั้งสติพิจารณาจิตได้แก่ จิตมีราคะ โทสะ โมหะ จิตไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตพอใจในชั้นเทวดา รูปพรหม อรูปพรหม จิตไม่พอใจในชั้นเทวดา
รูปพรหม อรูปพรหม จิตมีสมาธิ จิตไม่มีสมาธิ จิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น
๔. ธัมมานุปัสสนา คือ การตั้งสติพิจารณาธรรมได้แก่ นิวรณ์ ๕ ขันธ์ ๕ อายตนะภายในและภายนอก โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔
นิวรณ์ ๕ ได้แก่
๑. กามฉันทะ คือ ความทะยานอยากในอารมณ์ ที่ใคร่ทาง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นึกคิด
๒. พยาบาท คือ การมุ่งร้ายและคิดเบียดเบียนผู้อื่น
๓. ถีนมิทธะ คือ หดหู่ ท้อแท้ หรือ ง่วงนอน
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ฟุ้งซ่าน และ วิตกกังวล
๕. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ขันธ์ ๕ ได้แก่
๑. รูป คือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ อันประกอบด้วย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น มารวมกันชั่วคราวไม่นานก็กลายเป็นซากศพในลักษณะต่างๆ
๒. เวทนา คือ อารมณ์ สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์
๓. สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้
๔. สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง
๕. วิญญาณ คือ ประสาทรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายในและภายนอกได้แก่
๑. ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๒. รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นึกคิด
โพชฌงค์ ๗ ได้แก่
๑. สติ คือ การดูลมหายใจเข้าและออก สั้นหรือยาวก็กำหนดรู้และดูอิริยาบถ
๒. ธัมมวิจยะ คือ มีความเพียรละสักกายทิฏฐิ
๓. วิริยะ คือ มีความเพียรรักษาศีลและละนิวรณ์ ๕
๔. ปีติ คือ ความอิ่มใจในสมาธิเพราะละนิวรณ์ ๕ ได้
๕. ปัสสัทธิ คือ ความสงบระงับในกายและจิต ใน ขันธ์ ๕
๖. สมาธิ คือ ความมีจิตที่ตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว
๗. อุเบกขา คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ในขั้นเจริญวิปัสสนาเพื่อละกิเลสจึงต้องละอุเบกขาซึ่งอยู่ในฌานที่ ๔ เพื่อบรรลุเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป
อริยสัจ ๔ ได้แก่
๑. ทุกข์ ควรกำหนดรู้
๒. สมุทัย ควรละ
๓. นิโรธ ควรทำให้สำเร็จ
๔. มรรค ควรทำให้เจริญ
อิติปิโส ภะคะวา อิทธิบาทะปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาธรรมสัมมัปปธาน ๔ คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาความเพียร
๑. สังวรปธาน คือ มีความเพียรระวังไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น
๒. ปหานปธาน คือ มีความเพียรละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน คือ มีความเพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น
๔. อนุรักขนาปธาน คือ มีความเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นไม่ให้เสื่อมและเจริญยิ่งๆขึ้นไป
อิติปิโส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีอิทธิบาท ๔ คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่
๑. ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ คือ มีความเพียร
๓. จิตตะ คือ เอาใจฝักใฝ่ เอาใจใส่
๔. วิมังสา คือ การใช้ปัญญาพิจารณาสอบสวน
อิติปิโส ภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีอินทรีย์ ๕ คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมอันเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ได้แก่
๑. ศรัทธา คือ ความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๒. วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม
๓. สติ คือ ความระลึกได้ อันประกอบด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม
๔. สมาธิ คือ ความมีจิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวอันประกอบด้วย ฌาน ๑-๔
๕. ปัญญา คือ ความจริงอันประเสริฐในอริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท และ ไตรลักษณ์
อิติปิโส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพละ ๕ คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรมในการพิจารณาธรรมอันเป็นกำลัง ได้แก่
๑. ศรัทธา คือ ความเชื่อ กำลังในการควบคุมความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๒. วิริยะ คือ ความเพียร กำลังในการควบคุมความเกียจคร้าน
๓. สติ คือ ความระลึกได้ กำลังในการควบคุมการไม่ใส่ใจหรือใจลอย
๔. สมาธิ คือ ความมีจิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว กำลังในการควบคุมความฟุ้งซ่านและวิตกกังวล
๕. ปัญญา คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ กำลังในการควบคุมการไม่พิจารณาในอริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท และไตรลักษณ์
อิติปิโส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีโพชฌงค์ ๗ คือ ความรู้แห่งธรรมองค์แห่งการตรัสรู้อันได้แก่
๑.สติ
๒.ธัมมวิจยะ
๓.วิริยะ
๔.ปีติ
๕.ปัสสัทธิ
๖. สมาธิ
๗.อุเบกขา
อิติปิโส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเจริญมรรค ๘ คือ ความรู้แจ้งแห่งธรรม
ข้อปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์มี ๘ ประการ อันประเสริฐ ได้แก่
๑.สัมมาทิฏฐิ คือ
๑.๑ ไม่ฆ่าสิ่งมีชีวิต ๑.๒ ไม่ลักทรัพย์ ๑.๓ ไม่นอกใจคู่ชีวิต ๑.๔ ไม่พูดโกหก ๑.๕ ไม่พูดคำหยาบ ๑.๖ ไม่พูดส่อเสียด ๑.๗ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑.๘ ไม่ละโมบในของผู้อื่น
๑.๙ ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น ๑.๑๐ ละมิจฉาทิฏฐิ ๑.๑๑ อราคะ อโทสะ อโมหะ ๑.๑๒ มีอาหาร คือ สังขาร และวิญญาณ ๑.๑๓ มรรคมีองค์ ๘ ๑.๑๔ ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท
เพราะมีเหตุ คือ อวิชชา จึงมี สังขาร
เพราะมีเหตุ คือ สังขาร จึงมี วิญญาณ
เพราะมีเหตุ คือ วิญญาณ จึงมี นามรูป
เพราะมีเหตุ คือ นามรูป จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีเหตุ คือ สฬายตนะ จึงมี ผัสสะ
เพราะมีเหตุ คือ ผัสสะ จึงมี เวทนา
เพราะมีเหตุ คือ เวทนา จึงมี ตัณหา
เพราะมีเหตุ คือ ตัณหา จึงมี อุปทาน
เพราะมีเหตุ คือ อุปทาน จึงมี ภพ
เพราะมีเหตุ คือ ภพ จึงมี ชาติ
เพราะมีเหตุ คือ ชาติ จึงมี ชรามรณะ
อวิชชา คือ การไม่พิจารณาในอริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท และ ไตรลักษณ์ จึงทำให้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเป็นกายของเราเป็นจิตของเรา
สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง
วิญญาณ คือ ในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปฏิสนธิ
นามรูป คือ จิตและกาย
สฬายตนะ คือ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ
ผัสสะ คือ รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,นึกคิด
เวทนา คือ สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์
ตัณหา คือ กามตัณหา,ภวตัณหา,วิภวตัณหา
อุปทาน คือ การยึดมั่นถือมั่น
ภพ คือ สถานที่เกิด
ชาติ คือ ภาระหน้าที่ในการใช้กรรม
ชรามรณะ คือ ความแก่ เจ็บป่วยและตาย
๒. สัมมาสังกัปโป คือ การออกจากกามและการไม่มุ่งร้ายและไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. สัมมาวาจา คือ การไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๔. สัมมากัมมันโต คือ ไม่ฆ่าสิ่งมีชีวิต ไม่ลักทรัพย์ ไม่นอกใจคู่ชีวิต
๕. สัมมาอาชีโว คือ ไม่ค้าขายอาวุธเพื่อใช้ในการฆ่า ไม่ค้ามนุษย์ ไม่ค้าขายยาพิษ ไม่ค้าขายสิ่งมึนเมา ไม่ค้าขายสัตว์ที่จะนำไปฆ่า
๖. สัมมาวายาโม คือ ๖.๑ มีความเพียรไม่ให้อกุศลเกิดขึ้น
๖.๒ มีความเพียรละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๖.๓ มีความเพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น
๖.๔ มีความเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นไม่ให้เสื่อมและเจริญยิ่งๆขึ้นไป
๗. สัมมาสติ คือ สติปัฏฐาน ๔ อันประกอบด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม
เส้นทางปฏิบัติ คือ อานาปานสติมี ๑๖ คู่ ได้แก่
กาย
มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
๑. หายใจออกยาวก็รู้ หายใจเข้ายาวก็รู้
๒. หายใจออกสั้นก็รู้ หายใจเข้าสั้นก็รู้
๓. กำหนดรู้กองลมหายใจออก กำหนดรู้กองลมหายใจเข้า
๔. ระงับกายสังขารหายใจออก ระงับกายสังขารหายใจเข้า
พิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความตั้งอยู่และดับไปในกายบ้างสติที่ตั้งมั่นว่ากายมีอยู่เพียงแค่อาศัยระลึกเท่านั้นแต่ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ยึดมั่นถือมั่นมีความเพียรมีสติกำจัดสุขและทุกข์ในโลกออกเสียได้
เวทนา
๕. กำหนดรู้ปีติหายใจออก กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า
๖. กำหนดรู้สุขหายใจออก กำหนดรู้สุขหายใจเข้า
๗. กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า
๘. ระงับจิตสังขารหายใจออก ระงับจิตสังขารหายใจเข้า
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้างพิจารณาเห็นธรรมคือความตั้งอยู่และดับไปในเวทนาบ้าง สติที่ตั้งมั่นว่าเวทนามีอยู่เพียงแค่อาศัยระลึกเท่านั้นแต่ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ยึดมั่นถือมั่นมีความเพียรมีสติกำจัดสุขและทุกข์ในโลกออกเสียได้
จิต
๙. กำหนดรู้จิตหายใจออก กำหนดรู้จิตหายใจเข้า
๑๐. กำหนดรู้จิตมีสุขหายใจออก กำหนดรู้จิตมีสุขหายใจเข้า
๑๑. กำหนดรู้จิตมีสมาธิหายใจออก กำหนดรู้จิตมีสมาธิหายใจเข้า
๑๒. กำหนดรู้จิตมีอุเบกขาหายใจออก กำหนดรู้จิตมีอุเบกขาหายใจเข้า
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความตั้งอยู่และดับไปในจิตบ้าง สติที่ตั้งมั่นว่าจิตมีอยู่เพียงแค่อาศัยระลึกเท่านั้นแต่ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ยึดมั่นถือมั่นมีความเพียรมีสติกำจัดสุขและทุกข์ในโลกออกเสียได้
ธรรม
๑๓. พิจารณาขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยง เพราะ มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา เป็นทุกข์ เพราะ ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ ไม่ใช่กายของเรา ไม่ใช่จิตของเรา เพราะ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ หายใจออก
พิจารณาขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยง เพราะ มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา เป็นทุกข์ เพราะ ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ ไม่ใช่กายของเรา ไม่ใช่จิตของเรา เพราะ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ หายใจเข้า
๑๔. พิจารณาจนเกิดความเบื่อหน่ายจนคลายความอยากในตัณหาทั้ง ๓ หายใจออก
พิจารณาจนเกิดความเบื่อหน่ายจนคลายความอยากในตัณหาทั้ง ๓ หายใจเข้า
๑๕. พิจารณาจนไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ได้ จึงสามารถ สละ วาง ปล่อย ไม่พัวพันได้ หายใจออก
พิจารณาจนไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ได้ จึงสามารถ สละ วาง ปล่อย ไม่พัวพันได้ หายใจเข้า
๑๖. เมื่อละอวิชชาได้จะเกิดญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้วจึงสละคืน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา หายใจออก
เมื่อละอวิชชาได้จะเกิดญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้วจึงสละคืน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา หายใจเข้า
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความตั้งอยู่และดับไปในธรรมบ้างสติที่ตั้งมั่นว่าธรรมมีอยู่เพียงแค่อาศัยระลึกเท่านั้นแต่ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ยึดมั่นถือมั่นมีความเพียรมีสติกำจัดสุขและทุกข์ในโลกออกเสียได้
๘ สัมมาสมาธิ คือ การออกจากกามและอกุศลมีจิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว ระดับฌานที่ ๑-๔ ได้แก่
ปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน ประกอบด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
อิติปิโส ภะคะวา มหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระมหาบุรุษผู้ทรงธรรมอันทำให้เกิดความสว่างในพระองค์
อิติปิโส ภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระมหาบุรุษผู้มีปรีชาธรรมอันไม่มีความขัดข้องไม่มีเครื่องกั้นรู้ตลอดรู้ทะลุปรุโปร่ง
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระมหาบุรุษผู้มีธรรมอันทำให้สิ้นอาสวะเป็นกำลังแห่งการหลุดพ้นจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีธรรมแห่งการตรัสรู้ ๓๗ ประการ
ด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๑๐
อิติปิโส ภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระญาณอันเป็นกำลังของตถาคต ๑๐ ประการ
อิติปิโส ภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาหยั่งรู้ในฐานะและอฐานะ คือรู้กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่าอะไรเป็นไปได้ว่าอะไรเป็นไปไม่ได้ของบุคคลซึ่งจะได้รับผลของกรรมดีและชั่วต่างๆกัน
อิติปิโส ภะคะวา กัมมะวิปากะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงพระปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรมสามารถกำหนดและแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อนระหว่างผลของกรรมดีกับกรรมชั่วทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน
อิติปิโส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงพระปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวงคือสุคติและทุคติหรือพ้นจากคติรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์อันใดจะต้องทำอย่างไร
อิติปิโส ภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงพระปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆเป็นอเนกคือรู้จักสภาวะของธรรมชาติเช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆของชีวิตและหน้าที่ของมันในแต่ละอย่าง อาทิหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆเป็นต้น
อิติปิโส ภะคะวา สัตตานัง ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงพระปรีชาหยั่งรู้อธิมุติคือรู้อัธยาศัยความโน้มเอียง ความเชื่อถือของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆกัน
อิติปิโส ภะคะวา อินทรียะปะโรปะริยัตติญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงพระปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายคือรู้ว่าสัตว์นั้นๆมี ศรัทธา,วิริยะ,สติ,สมาธิ,ปัญญา
แค่ไหนเพียงใด
อิติปิโส ภะคะวา ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมองความผ่องแผ้ว การออกแห่งฌานวิโมกข์สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย
อิติปิโส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงพระปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพชาติที่เคยอยู่ในหนหลังได้
อิติปิโส ภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม
อิติปิโส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงพระปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ทะสะพะละญาณะวัคโค เอกาทะสะโม
พระพุทธเจ้าทรงมีพระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ
ด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๑๑
อิติปิโส ภะคะวา โกฏิสหัสสานังปะโกฏิสหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพละกำลังมากกว่าช้างตั้งโกฏิและปโกฏิ หมายถึง
จำนวนนับเท่ากับสิบล้าน และปโกฏิ คือ นับจำนวนไม่ได้
อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสหัสสานังพะละธะระ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพละกำลังมากกว่าบุรุษทั้งหลายเป็นพันโกฏิ
อิติปิโส ภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาหยั่งรู้พระจักษุอันเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้ามี ๕ ประการ ได้แก่
๑. มังสจักขุ คือ ตาเนื้อ
๒. ทิพพจักขุ คือ ตาทิพย์
๓. ปัญญาจักขุ คือ ตาปัญญา
๔. พุทธจักขุ คือ ตาพระพุทธเจ้า
๕ .สมันตจักขุ คือ ตาเห็นรอบ
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะกะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงพระปรีชาหยั่งรู้ในคู่แห่งธรรม คือธาตุน้ำและธาตุไฟเป็นต้น
อิติปิโส ภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงคุณแห่งความประพฤติทาง กาย วาจา ใจ ให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงามปราศจากโทษ
อิติปิโส ภะคะวา อัฏฐะสะมาปัตติคุณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีจิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวในสมาธิ
อิติปิโส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีคุณวิเศษหรือธรรมวิเศษที่เข้าถึงการบรรลุชั้นสูง
กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีพละกำลังด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๑๒
อิติปิโส ภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาสามารถในเรี่ยวแรงแห่งจิตในธรรมอันเป็นกำลังยิ่ง
อิติปิโส ภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาสามารถหยั่งรู้กำลังในเรี่ยวแรงแห่งจิตในธรรมอันเป็นกำลังทั้งหลาย
อิติปิโส ภะคะวา พะละ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาในธรรมอันเป็นกำลังอันเข้มแข็งที่ทำให้ข่มขจัดได้แม้แต่กำลังมาร
อิติปิโส ภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาหยั่งรู้กำลังจิตทำให้ไม่มีกิเลสหรือความทุกข์ใดๆสามารถบีบคั้นครอบงำได้
อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุรุษผู้มีพระปรีชาสามารถยิ่ง
อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาสามารถหาที่สุดประมาณโดยไม่มีเครื่องชั่ง
อิติปิโส ภะคะวา อะตุละยะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาหยั่งรู้ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ (สัจญาณ)
อิติปิโส ภะคะวา อุสสาหะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาหยั่งรู้ในหน้าที่ต่ออริยสัจ (กิจญาณ)
อิติปิโส ภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาหยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จสิ้นแล้ว(กตญาณ)
หมายถึงการหยั่งรู้ครบ ๓ รอบ ญาณทั้ง ๓ เมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจ ๔ จึงได้เป็นญาณทัสนะ มีอาการ ๑๒ ดังนี้
๑. สัจญาณ ทรงหยั่งรู้ความจริง ๔ ประการว่า
๑๑. นี่คือทุกข์
๑๒. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
๑๓. นี่คือความดับทุกข์
๑๔. นี่คือข้อปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์
๒. กิจญาณ ทรงหยั่งรู้ในหน้าที่ต่ออริยสัจว่า
๒.๑ ทุกข์ ควรกำหนดรู้
๒.๒ เหตุแห่งทุกข์ควรละ
๒.๓ ความดับทุกข์ควรทำให้สำเร็จ
๒.๔ ข้อปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ควรทำให้เจริญ
๓. กตญาณ ทรงหยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จสิ้นแล้ว
๓.๑ ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
๓.๒ เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
๓.๓ ความดับทุกข์ได้ทำสำเร็จแล้ว
๓.๔ ข้อปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ได้ทำให้เจริญแล้ว
ถามะพะละวัคโค เตระสะโม
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือเรี่ยวแรง
อันเป็นกำลังด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๑๓
อิติปิโส ภะคะวา จะริยา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีความประพฤติปกติของจิตทรงบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
อิติปิโส ภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีความหยั่งรู้ปกติของจิตในสรรพสัตว์ที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์สูงสุด
อิติปิโส ภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีความประพฤติปกติของจิตทรงเอื้ออำนวยประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก
อิติปิโส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ปกติของจิตในสรรพสัตว์ทรงเอื้ออำนวยแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
อิติปิโส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ
อิติปิโส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ในพระญาณทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ
อิติปิโส ภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญประโยชน์ตามหน้าที่ของพระพุทธเจ้า
อิติปิโส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีจนครบทั้ง ๓ ประการ
อิติปิโส ภะคะวา ปาระมิ อุปะปาระมิ ปะระมัตถะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมี ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงสุด รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ ทัศ
จะริยาวัคโค จะตุตทะสะโม
รวมเรียกว่าการทรงบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้าด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๑๔
อิติปิโส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่กายของเรา ไม่ใช่จิตของเรา ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป เป็นกฎแห่งไตรลักษณ์คือความไม่เที่ยงแห่งขันธ์ ๕ ที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
อิติปิโส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่กายของเรา ไม่ใช่จิตของเรา ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ คือความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕ ที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
อิติปิโส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่กายของเรา ไม่ใช่จิตของเรา ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเป็นกฎแห่งไตรลักษณ์ คือความที่ ไม่ใช่กายของเรา ไม่ใช่จิตของเรา แห่งขันธ์ ๕ ที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
อิติปิโส ภะคะวา อายะตะเนสุติลักขะณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระมหาบุรุษผู้ทำความรู้แห่งธรรมอันยอดเยี่ยมทรงหยั่งรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่กายของเรา ไม่ใช่จิตของเรา ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งอายตนะทั้งหลาย
อิติปิโส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตูสูติลักขะณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระมหาบุรุษผู้ทำความรู้แห่งธรรมอันยอดเยี่ยมทรงหยั่งรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่ใช่กายของเรา ไม่ใช่จิตของเรา ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งลักษณ์ธาตุ ๑๘ทั้งหลาย
อิติปิโส ภะคะวา วิปะริณามะลักขะณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระมหาบุรุษ เป็นผู้นำ ผู้เป็นใหญ่ ทรงหยั่งรู้ความจริงทั้งหลายที่ไม่เที่ยง ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่มีตัวตน สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของลักษณ์ทั้งปวงในโลก
อิติปิโส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ในพระญาณทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติตามฐานะ
อิติปิโส ภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญประโยชน์ตามหน้าที่ของพระพุทธเจ้า
อิติปิโส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีจนครบทั้ง ๓ ประการ
อิติปิโส ภะคะวา ปาระมิ อุปะปาระมิ ปะระมัตถะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมี ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงสุด รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ ทัศ
ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม
รวมเรียกว่าลักษณ์บารมีแห่งพระพุทธเจ้าด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๑๕
อิติปิโส ภะคะวา คะตัฏฐานะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ตรัสรู้ในทุกหนทางที่ปฏิบัติที่ทรงดำเนินไปและทุกที่ ที่ทรงเสร็จไปก
อิติปิโส ภะคะวา คะตัฏฐานะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้หยั่งรู้ในทุกหนทางที่ปฏิบัติที่ดำเนินไปแล้วและทุกสถานที่ ที่ทรงเสด็จไป
อิติปิโส ภะคะวา วุสิตะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีความชำนาญในเรื่องฌาน คือ ตรวจองค์ฌานเข้าและออกได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
อิติปิโส ภะคะวา วุสิตะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้หยั่งรู้ทรงเชี่ยวชาญ ชำนาญในเรื่องฌานพิจารณาทบทวนองค์ฌานได้อย่างรวดเร็ว
อิติปิโส ภะคะวา สิกขา ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ฝึกหัดอบรม ศีล สมาธิ ปัญญา จนบรรลุจุดหมายสูงสุด
อิติปิโส ภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้หยั่งรู้ด้วยการศึกษาที่เชี่ยวชาญจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือนิพพาน
อิติปิโส ภะคะวา สังวะระ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีความสำรวมระวังปิดกั้นบาปอกุศล เช่น สำรวมศีล สำรวมอินทรีย์ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อิติปิโส ภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้หยั่งรู้ในการสำรวมระวังปิดกั้นบาปอกุศลทั้งหลาย
คะตัฏฐานะวัคโค โสฬะสะโม
พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติเจริญวิปัสสนาตามลำดับตั้งแต่ต้น
จนถึงที่สุดด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๑๖
อิติปิโส ภะคะวา พุทธะปะเวณิ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ตรัสรู้ในทุกหนทางปฏิบัติที่ดำเนินไปตามเชื้อสายของพระพุทธเจ้า
อิติปิโส ภะคะวา พุทธะปะเวณิญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีความหยั่งรู้ทั่วถึงชัดเจนแห่งหนทางปฏิบัติตามเชื้อสายของพระพุทธเจ้า
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงทำปาฏิหาริย์ เป็นอัศจรรย์ในคู่แห่งธรรม
อิติปิโส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์ให้ผลบังเกิดอัศจรรย์ในคู่แห่งธรรมเนื่องด้วยธาตุน้ำและธาตุไฟแสดงออกพร้อมกัน
อิติปิโส ภะคะวา จะตุพรัหมะวิหาระ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีการเป็นอยู่หรือดำเนินชีวิตอย่างผู้ประเสริฐ ๔ ประการ
อิติปิโส ภะคะวา จะตุพรัหมะวิหาระญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพรหมจรรย์ในการดำเนินชีวิตอย่างผู้รู้และผู้ประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
อิติปิโส ภะคะวา อะนาวะระณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีพระปรีชาหยั่งรู้อันไม่มีความขัดข้องรู้ตลอด รู้ทะลุปรุโปร่งไม่มีเครื่องกั้นเป็นพระปรีชาเฉพาะของพระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีทั่วไปแก่พระสาวก
อิติปิโส ภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีความหยั่งรู้ไม่มีที่สิ้นสุดในธรรมในอินทรีย์อันยิ่งหย่อนของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
อิติปิโส ภะคะวา ปะริยันตะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีพระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวงทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคต เป็นพระปรีชาเฉพาะของพระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีทั่วไปแก่พระสาวก
อิติปิโส ภะคะวา ปะริยันตะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีพระปรีชาวชิรญาณตรัสรู้สิ่งทั้งปวงเห็นไปข้างหน้าคือ อนาคตรู้ เห็นอดีตข้างหลังได้มากโดยมากหาประมาณมิได้
อิติปิโส ภะคะวา สัพพัญญุตะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปัญญาซึ่งทรงตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งปวงมาพร้อมกับการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งจะมีเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น
อิติปิโส ภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งทรงหยั่งรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ทรงปรารถนาที่จะทรงหยั่งรู้เกิดจากการสั่งสมพระบารมีมานานถึง ๔ อสงไชยแสนกัปป์
อิติปิโส ภะคะวา จตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย
อิติปิโส ภะคะวา จตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระญาณะ ปาระมิ สัมปันโน
พระพุทธเจ้าทรงมีพระปรีชาหยั่งรู้ในพระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย
พุทธะปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม
พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระมหาบุรุษผู้เป็นเชื้อสายแห่งพระพุทธเจ้า
ด้วยเหตุและปัจจัยอย่างนี้
จบ วรรคที่ ๑๗
สังโยชน์
สังโยชน์ คือกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมอยู่กับวัฏฏะมี ๑๐ อย่าง คือ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ หมายถึง มีความยึดมั่นถือมั่นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นกายของเรา เป็นจิตของเรา
๒. วิจิกิจฉา หมายถึง มีความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ใน ศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิจจสมุปบาท และ ไตรลักษณ์
๓. สีลัพพตปรามาส หมายถึง ถือศีลไม่บริสุทธิ์ ถือศีลไม่เคร่งครัด เห็นผิดว่าจะบริสุทธิ์ หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลหรือนำศีลไปใช้เพื่อผลอื่นไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การละกิเลส
๔. กามราคะ หมายถึง ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ทาง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นึกคิด (เป็นระดับความรุนแรงที่มากกว่า กามฉันทะ ใน นิวรณ์ ๕ เพลิดเพลินติดใจจนขาดไม่ได้)
๕. ปฏิฆะ หมายถึง ความกระทบกระทั่งในใจความหงุดหงิดขัดเคือง (เป็นระดับความรุนแรงที่มากกว่าพยาบาทในนิวรณ์ ๕ จนถึงขั้นทำร้ายร่างกายหรือแก่ชีวิต )
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
๑. รูปราคะ หมายถึง มีความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌานมีความปรารถนาในรูปภพ
๒. อรูปราคะ หมายถึง หมายถึง มีความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌานมีความปรารถนาในอรูปภพ
๓. มานะ หมายถึง ถือว่าตนดีกว่าผู้อื่น ถือว่าตนเสมอผู้อื่น ถือว่าตนด้อยกว่าผู้อื่น
๔. อุทธัทจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน และ วิตกกังวล
๕.อวิชชา หมายถึง การไม่พิจารณาในอริยสัจ ๔ ไม่พิจารณาใน ปฎิจจสมุปบาท และ ไตรลักษณ์ จึงทำให้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ว่า เป็นกายของเรา เป็นจิตของเรา
อาหารของอวิชชา คือ นิวรณ์ ๕
อาหารของนิวรณ์ ๕ คือ ทุจริต ๓
อาหารของทุจริต ๓ คือ การไม่สำรวมอินทรีย์
อาหารของการไม่สำรวมอินทรีย์ คือ การไม่มีสติสัมปชัญญะ
อาหารของการไม่มีสติสัมปชัญญะ คือ การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย
อาหารของการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย คือ ความไม่มีศรัทธา
อาหารของความไม่มีศรัทธา คือ การไม่ฟังสัทธรรม
อาหารของการไม่ฟังสัทธรรม คือ การไม่คบสัปปุรุษ
วิชชาและวิมุตติมีอาหาร คือ โพชฌงค์ ๗
อาหารของโพชฌงค์ ๗ คือ สติปัฏฐาน ๔
อาหารของสติปัฏฐาน ๔ คือ สุจริต ๓
อาหารของสุจริต ๓ คือ การสำรวมอินทรีย์
อาหารของการสำรวมอินทรีย์ คือ การมีสติสัมปชัญญะ
อาหารของการมีสติสัมปชัญญะ คือ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
อาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย คือ ความมีศรัทธา
อาหารของความมีศรัทธา คือ การฟังสัทธรรม
อาหารของการฟังสัทธรรม คือ การคบสัปปุรุษ
สุจริต ๓
๑. กายสุจริต คือ ความประพฤติชอบทางกาย มี ๓ อย่าง ได้แก่
– ไม่ฆ่าสิ่งมีชีวิต
– ไม่ลักทรัพย์
– ไม่นอกใจคู่ชีวิตของตน
๒. วจีสุจริต คือ ความประพฤติชอบทางวาจามี ๔ อย่าง ได้แก่
– ไม่พูดโกหก
– ไม่พูดคำหยาบ
– ไม่พูดส่อเสียด
– ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๓. มโนสุจริต คือ ความประพฤติชอบทางใจมี ๓ อย่าง ได้แก่
– ไม่ละโมบอยากได้ของผู้อื่น
– ไม่คิดร้ายเบียดเบียนผู้อื่น
– มีสัมมาทิฏฐิ
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ , วิจิกิจฉา , สีลัพพตปรามาส พระโสดาบัน แบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้ ๑. เอกพีชี(เอ-กะ) คือ ผู้มีหลักธรรมอันเป็นใหญ่ในกิจหน้าที่ของตนมีกำลังมากที่สุดอันได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็จะทำให้กลับมาเกิดอีกเพียง ๑ ชาติ
๒. โกลังโกละ คือ ผู้จะกลับมาเกิดอีกเพียง ๒-๓ ชาติ
๓. สัตตักขัตตุงปรมะ คือ ผู้จะเกิดมากลับอีกไม่เกิน ๗ ชาติ
พระสกทาคามี ละสังโยชน์ข้อ ๑-๓ ได้ และสามารถทำ กามราคะและปฏิฆะให้เบาบางลงได้ก็จะเป็นผู้กลับมาเกิดอีกเพียง ๑ ชาติ
พระอนาคามี สามารถละสังโยชน์ข้อ ๑-๕ ได้ จะเป็นผู้ไปเกิดบนพรหมโลกอีกเพียง ๑ ครั้งและจะนิพพานบนพรหมโลกนั้นเลย
เสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ คือ ยังต้องศึกษาไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อบรรลุ มรรคผลที่สูงขึ้นไปอีก เรียกเต็มว่า พระเสขะ หรือ เสขบุคคล เสขะคือ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหันตผลหรือยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกคาทามี พระอนาคามี เสขะ หากได้บรรลุอรหันตผลเป็นพระอรหันต์แล้วก็เป็นอันพ้นจากความเป็นเสขะและได้ชื่อใหม่ว่าอเสขะ
อเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก คือไม่ต้องศึกษาไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา อีกต่อไปเพราะได้ศึกษาจบโดยได้บรรลุอรหันตผลแล้วเรียกเต็มว่าพระอเสขะหรืออเสขะบุคคล อเสขะ ได้แก่ พระอริยบุคคลระดับสูงสุดคือพระอรหันต์เป็นผู้เสร็จกิจการศึกษาไตรสิกขาแล้ว ผู้ไม่มีกิจที่จะต้องบำเพ็ญเพื่อละกิเกสอีก
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้อุทิศให้
อุปัชฌายา คุณุตตะรา อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
อาจะริยูปะการา จะ แล อาจารย์ผู้เกื้อหนุน
มาตาปิตา จะ ญาตะกา ทั้งพ่อแม่และปวงญาติ
สุริโย จันทิมา ราชา สูรย์จันทร์ แลราชา
คุณะวันตา นะราปิ จะ ผู้ทรงคุณหรือสูงชาติ
พรัหมะมารา จะ อินทา จะ พรหม มาร และ อินทราช
โลกะปาลา จะ เทวะตา ทั้งทวยเทพและโลกบาล
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ ยมราช มนุษย์มิตร
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ขอให้เป็นสุขศานติ์ ทั่วทุกหน้าอย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม บุญผองที่ข้าทำโปรดช่วยอำนวยศุภผล
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ให้สุข สามอย่างล้น
ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ให้ลุถึงนิพพานพลัน
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้ที่เราทำ
อิมินา อุททิเสนะ จะ แลอุทิศให้ปวงสัตว์
ขิปปาหัง สุละเภ เวจะ เราพลันได้ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง ตัวตัณหา อุปาทาน
เย สันตาเน หินา ธัมมา สิ่งชั่ว ในดวงใจ
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ มลายสิ้น จากสันดาน
ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว ทุกๆภพที่เราเกิด
อุชุจิตตัง สะติปัญญา มีจิตตรงและสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ
สัลเลโข วิริยัมหินา พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
มารา ละภันตุ โนกาสัง โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย
กาตุญจะ วิริเยสุ เม เป็นช่องประทุษร้ายทำลายล้างความเพียรจม
พุทธาทิปะวะโร นาโถ พระพุทธ ผู้บวรนาถ
ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม พระธรรม เป็นที่พึ่งอันอุดม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ พระปัจเจก พุทธสมทบ
สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง พระสงฆ์ที่พึ่งผยอง
เตโสตตะมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพนั้น
มาโรกาสัง ละภันตุ มา ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง
มาโรกะสัง ละภันตุ มา อย่าเปิดโอกาสแก่มาร (เทอญ)
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
อนัตตลักขณสูตร
อาทิตตปริยายสูตร
ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรม
เหล่านั้นและความดับไปของธรรมเหล่านั้น
ศีล สมาธิ ปัญญา สุจริต ๓ ออกจากกาม ออกจากอกุศล
สัพเพ สังขารา อนิจจา เพราะ มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
สัพเพ สังขารา ทุกขา เพราะ ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้
สัพเพ ธัมมา อนัตตา เพราะ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้
สังขาร ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น กาย ประกอบด้วย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ เจตสิก คือ เวทนา สัญญา สังขาร ต้องเกิดพร้อมกันและร่วมกันกับจิต และจิต คือ วิญญาณ ต้องเกิดพร้อมกันและร่วมกันกับเจตสิก แต่เรียกโดยรวมเพื่อให้เข้าใจง่ายๆคือ ขันธ์ ๕ กายและจิต
ธรรม ในที่นี้หมายถึง ทุกๆสิ่งทุกๆอย่างในเอกภพ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านปี ในเอกภพจะมีอยู่หลายกาแล็กซีมากและในแต่ละกาแล็กซีจะมีดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์แบบโลกไม่ใช่แค่ดวงเดียว หากเทียบอายุ ๑๕,๐๐๐ ล้านปี ของเอกภพเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ทุก ๐.๐๐๐๕ วินาที และหากเทียบรัศมี ๑๐๐,๐๐๐ ปีแสง ของกาแล็กซีทางช้างเผือกเป็นระยะทาง ๑ กิโลเมตร มนุษย์จะมีขนาดเพียง ๑ ใน ๕๐๐๐ ล้าน มิลลิเมตร เท่านั้นนี่คือความเล็กน้อยของมนุษย์เมื่อเทียบกับเอกภพอันกว้างใหญ่ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เพื่อรอการดับไป และจะกลับมาเกิดขึ้นอีกและจะวนเวียนแบบนี้อีกนานแสนนาน เพราะจริงๆแล้วมนุษย์ก็คือ พรหมที่มีกิเลสจึงทำให้เกิดกายหยาบและมีเพศขึ้นมานั่นเอง
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
สละ วาง ปล่อย ไม่พัวพัน
การยึดมั่นถือมั่น ในกายและจิต
เป็นกายของเรา เป็นจิตของเรา เป็นทุกข์
ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของร้อน ร้อนด้วยไฟจากราคะ โทสะ โมหะ , รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นึกคิด เป็นของร้อน ร้อนด้วยไฟจากราคะ โทสะ โมหะ
พระอรหันต์
แบ่งตามสถานะมี ๓ ประเภท
๑. พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระพุทธเจ้า คือ ผู้ตรัสรู้แล้วและได้ก่อตั้งศาสนาพุทธสามารถโปรดเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้นเป็น-อรหันต์ตามได้
๒. พระปัจเจกพระพุทธเจ้า คือ ผู้ตรัสรู้แล้วแต่ไม่ประกาศศาสนา ไม่มีพระสาวก เกิดขึ้นในยุคที่โลกไม่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้น
๓. พระอรหันตสาวก คือ พระสาวกผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์จากการปฏิบัติธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า
พระอรหันต์ ๒ ได้แก่
๑. สุกขวิปัสสกะ (สุกข-แห้งแล้ง) ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วได้ ฌาน ๔ เมื่อบรรลุอรหัตตผล เรียกอีกอย่างว่า วิปัสสนายานิก
๒. สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน ผู้เจริญสมถกรรมฐานจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อจนบรรลุอรหัตตผล เรียกอีกอย่างว่า อุภโตภาควิมุต
พระอรหันต์ ๔ ได้แก่
๑. สุกขวิปัสสกะ คือ ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน
๒. เตวิชชะ คือ ผู้ได้วิชชา ๓
๓. ฉฬภิญญะ คือ ผู้ได้อภิญญา ๖
๔. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ คือ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔
พระอรหันต์ ๕ ได้แก่
๑. ปัญญาวิมุต
๒. อุภโตภาควิมุต
๓. เตวิชชะ
๔. ฉฬภิญญะ
๕. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ
บทสวดพระปริตรและกราบนมัสการพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้า
โพชฌังคปริตร สวดให้ผู้อื่นใช้ เต
สวดให้ตนเองใช้ เม
อุณหิสสวิชัยสูตร
โมรปริตร
วัฏฏกปริตร
ฉัททันตปริตร
ขันธปริตร
กรณียเมตตาสูตร
เมตตานิสังสสุตตปาฐะ
กายะคะตาสะติภาวะนาปาฐะ
บทพระพุทธเมตตา
พระปัญจวัคคีย์ เป็นนักบวชที่ออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตั้งแต่เสด็จออกผนวชใหม่ๆทั้งหมดเป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ฟังปฐมเทศนาเป็นกลุ่มแรก ได้เป็นพระภิกษุกลุ่มแรกและได้เป็นพระอรหันต์กลุ่มแรกในพระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชา คือ วันที่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้ฟังบท ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่กล่าวถึง อริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ อาการ ๑๒ และพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุเป็น พระอริยบุคคลขั้น โสดาบัน จึงขอบวชได้เป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา และอีก ๔ วันถัดไปพระปัญจวัคคีย์ที่เหลือได้เข้าฟังบท ธัมมจักกัปปวัตนสูตร กันตามลำดับจนได้บรรลุเป็น พระอริยบุคคลขั้น โสดาบัน กันทุกรูป และในวันที่ ๖ พระปัญจวัคคีย์ ทั้งหมดได้เข้าฟังธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดา คือ บทอนัตตลักขณสูตร ที่กล่าวถึง ขันธ์ ๕ เป็นลักษณะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อฟังจบพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็สิ้นอาสวกิเลส สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลขั้น อรหันต์ กันทุกรูป
๑. พระอรหันต์โกณฑัญญะ
๒. พระอรหันต์วัปปะ
๓. พระอรหันต์ภัททิยะ
๔. พระอรหันต์มหานามะ
๕. พระอรหันต์อัสสชิ
วัน มาฆบูชา คือวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ อันได้แก่ ๑ การออกจากอกุศลทั้งปวง ๒ การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๓ การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ ๕ แก่ภิกษุจำนวน ๑,๒๕๐ รูป โดยในจำนวนนี้เป็นภิกษุชฏิล ๑,๐๐๐ รูป และ อัครสาวก ๒๕๐ รูป
อาทิตตปริยายสูตร เป็นธรรมเทศนาที่พระบรมศาสดาทรงแสดงแก่ภิกษุชฏิลทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ท่านทั้งหลายได้ทรงพิจารณาพระธรรมเทศนาและได้หลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง พระภิกษุชฏิลทั้งหมดนั้นได้เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา บทอาทิตตปริยายสูตรนั้น ได้กล่าวถึง การสำรวมในอินทรีย์ ๖ คือ อายตนะภายในกับอายตนะภายนอก
วันวิสาขบูชา คือ วันที่พระบรมศาสดาได้ ประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน และวัน อัฏฐมีบูชา คือ วันที่ถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระของพระบรมศาสดานับจากวันที่ดับขันธปรินิพพานได้ ๘ วันนอกจากนั้นยังเป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาได้ทรงสิ้นพระชนม์หลังจากทรงประสูติ และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์ทรงเสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน หลังจากทรงตรัสรู้
พระอัครสาวกเบื้องขวา พระอรหันต์สารีบุตร
ผู้เป็นเลิศในด้านสติปัญญา
พระอัครสาวกเบื้องซ้าย พระอรหันต์โมคคัลลานะ
ผู้เป็นเลิศในด้านมีฤทธิ์มาก
พระอรหันต์อานนท์ ผู้เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ๕ ประการ ได้แก่ เป็นพหูสูต ,มีสติ,มีคติ,มีความเพียรและเป็นพุทธอุปัฏฐาก
พระอรหันต์ อนุรุทธะ ผู้เป็นเลิศในด้านมีทิพยจักษุญาณ ท่านจะพิจารณาแลดูหมู่สัตว์ทั้งปวงด้วยทิพยจักษุ ยกเว้นเวลาฉันอาหารเท่านั้น
พระอรหันต์ ราหุล ผู้เป็นเลิศในด้านผู้ใคร่ในการศึกษา
พระบรมศาสดาตรัสสอนด้วยมหาราหุโลวาทซึ่งว่าด้วยรูปกรรมฐานธาตุ ๕ อย่างคือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ให้ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ส่วนนั้นไม่ใช่ของเรา สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวเรา เป็นต้น
ในที่สุดก็ตรัสสอนในกรรมฐานอื่นๆให้ เจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อสุภสัญญาและอนิจจสัญญา ครั้นทรงสอนจบแล้วพระราหุลมีจิตยินดีในคำสอนของพระบรมศาสดาต่อมาพระราหุลได้ฟังพระพุทโธวาทเกี่ยวกับวิปัสสนาคล้ายกับโอวาสที่ตรัสสอนภิกษุปัญจวัคคีย์เพียงแต่ในที่นี้ยกอายตนะภายในและภายนอก เป็นต้น ขึ้นแสดงแทนขันธ์ ๕ ท่านส่งจิตไปตามพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์ ท่านเป็นพระโอรสของพระบรมศาสดา
พระอรหันต์ พาหิยทารุจิริยะ ผู้เป็นเลิศในด้านตรัสรู้เร็วพลัน ท่านได้สดับพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดงมีการตักเตือนให้มีความเพียรศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น
ท่านส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาได้บรรลุอรหัตตผลพร้อมทั้งปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
พระอรหันต์ มหาจุนทะ ท่านเป็นหนึ่งในพุทธอุปัฏฐากของพระบรมศาสดา ท่านเป็นน้องชายพระอรหันต์สารีบุตรเมื่อครั้งพระบรมศาสดาทรงอาพาธพระอรหันต์มหาจุนทะได้กล่าว โพชฌังคปริตร ถวายโดยความเคารพทำให้อาการอาพาธของพระบรมศาสดาหายโดยพลัน
พระอรหันต์ มหากัสสปะ ผู้เป็นเลิศในด้านผู้ทรงธุดงค์ ท่านเป็นผู้ริเริ่มทำสังคายนา ทำอยู่ ๘ เดือนจึงสำเร็จเรียกว่า ปฐมสังคายนาทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหาแห่งเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ พระมหากัสสปะเป็นประธานได้พระอุบาลีและพระอานนท์เป็นกำลังสำคัญในการวิสัชนาพระวินัย พระธรรม (พระสูตรและพระอภิธรรม) ตามลำดับ ได้พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก
พระอรหันต์ อุบาลี ผู้เป็นเลิศในด้านผู้ทรงไว้ซึ่งพระวินัย ท่านได้ศึกษาทรงจำพระวินัยปิฏกแม่นยำชำนิชำนาญมากเป็นผู้สามารถจำเรื่องราวอะไรซึ่งเกี่ยวด้วยพระวินัยเป็นอย่างดี สงฆ์ได้เลือกท่านให้เป็นผู้วิสัชนาใน ส่วนพระวินัยปิฏกเพราะท่านเป็นผู้มีความสามารถในเรื่องนี้ดี
พระอรหันต์ นันทะ ผู้เป็นเลิศในด้านการสำรวมอินทรีย์ ๖
พระอรหันต์ วักกลิ ผู้เป็นเลิศในด้านการหลุดพ้นจากกิเลสด้วยความศรัทธา
พระอรหันต์ เรวตะ ผู้เป็นเลิศในด้านการอยู่ป่า
พระอรหันต์ โสณโกฬิวิสะ ผู้เป็นเลิศในด้านผู้ปรารภความเพียรในพระพุทธศาสนา
พระอรหันต์ มหาปันถกะ ผู้เป็นเลิศในด้านการเจริญภาวนา
พระอรหันต์ สีวลี ผู้เป็นเลิศในด้านมีลาภมากท่านได้บรรลุมรรคผลตั้งแต่เมื่อเวลาปลงผมคือเมื่อเวลามีดโกนจรดลงศีรษะครั้งที่หนึ่งได้บรรลุโสดาปัตติผล ครั้งที่สองได้บรรลุสกทาคามีผล ครั้งที่สามได้บรรลุ อนาคามีผล ปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล
พระอรหันต์ องคุลิมาล ท่านนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ตั้งใจเจริญสมณธรรม แต่จิตฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิเพราะคนที่ท่านได้ฆ่าประดุจดังว่ามาปรากฏอยู่ตรงหน้า พระบรมศาสดาทรงทราบจึงเสด็จมาและแนะนำสั่งสอนไม่ให้ระลึกถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว และสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ให้พิจารณาธรรมที่บังเกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่างเดียว ท่านประพฤติตามไม่ช้าก็สำเร็จอรหัตตผล
พระอรหันต์ อุปคุต พระอรหันต์หลังพุทธกาลสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ชื่ออุปคุต แปลว่า คุ้มครองรักษา ท่านยังมีชีวิตอยู่เนรมิตกุฏิแก้วอยู่ใต้ท้องสะดือทะเล ท่านอยู่ปกปักรักษา
พระพุทธศาสนาในสมัยพระโคตมพุทธเจ้าาให้ครบ ๕๐๐๐ ปี
อานิสงส์แห่งการสาธยายมนต์อาการะวัตตาสูตรนี้ พึงบันดาลความสุข สันติ ความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง มั่นคง อุดมสมบูรณ์เพิ่มพูนทั้งมหาทรัพย์สมบัติ มหาสติ มหาปัญญาแก่คนทั้งปลายทั้งปวงด้วยเทอญ
ติดต่อบูชา LINE : @mayakarnlanna