กำเนิดสุริยคราส และจันทรคราส

สมัยโบราณนั้นการเกิดสุริยคราส และจันทรคราสถือเป็นเรื่องอาถรรพ์หรือลางบอกเหตุความมืดมัว ความชั่วร้ายต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากราหูในทัศนะคนโบราณจึงมักเป็นเรื่องร้ายต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากราหู ดังนั้นราหูในทัศนะคนโบราณจึงมักเป็นเรื่องร้ายเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยความที่ราหูมีอำนาจ จึงจำเป็นต้องกราบไว้บูชาราหูกันตามความเชื่อ การเกิดจุดคราสนั้น คนสมัยโบราณจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กบกินเดือน จะค่านตือเดือน โดยคำว่าจะค่านนี้น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่าจันทรคราสนี่เอง นิทานมุขปาฐะเกี่ยวกับเรื่องราหูกับจุดคราสนี้มีมาก ซึ่งมักจะอ้างอิงถึงความร้ายกาจของราหูทั้งสิ้น

คัมภีร์อรุณดีสูตรสำนวนล้นนาได้กล่าวถึงการกำเนิด สุริยคราส และจันทรคราสไว้ว่า ในเมื่อพระจันทร์พระอาทิตย์มีอานุภาพมากนักฉันนี้  เหตุใดผู้คนจึงโจทนากล่าวว่า เมื่อราหูอสุรินทะนี้เข้ามาตือเอามณฑลพระจันทร์ และพระอาทิตย์นั้นจักกลืนกินได้รือ เมื่อถามฉันนั้นปริหารักบุคคลก็เพิงกล่าวว่า ดังจักหื้อกลืนกินก็ได้ แม่นจักอมไว้ก็ได้ดีหลี เหตุว่าราหูอสุรินทะนั้นมีตนอันใหญ่สูงนัก มีขนาดได้ ๔ พัน ๘ ร้อยโยชน์จักนับเป็นวาได้ ๘ โกฏิปลาย ๘ ล้านวา นับแต่ข้างขวาถึงซ้ายได้พันปลาย ๒ ร้อยโยชน์ วัตราหูที่ทัดอกราหู ได้พันปลาย ๒ ร้อยโยชน์เป็น ๑๙ โกฏิปลาย ๒ ล้นวาแล ตนตัวของราหูหนาตั้งแต่อกเมือถึงหลังได้ ๖๐๐ โยชน์เป็นโกฏิปลาย ๑๐๐ วา หัวราหูยาวแต่คางขึ้นถึงกระหม่อม ได้ ๑๐๐ โยชน์เป็น ๑๖๐ โกฏิวาแล หน้าผาก ราหูยาวลุ่มบนได้ ๓๐๐ โยชน์ เป็น ๔ โกฏิปลาย ๘ ล้นวาแล หว่างคิ้วทั้งสองแห่ง ราหูกว้างได้ ๕o โยชน์เป็น ๘ ล้านวา ปากราหูยาว ๒ ร้อยโยชน์เป็น ๓ โกฏิปลาย ๒ ล้านวา ปากราหูลีกเมื่อในถึงที่สุดรูคอ ได้ ๓๐๐ โยชน์เป็น ๔ โกฏิปลาย ๘ ล้าน ฝ่าตีนฝ้ามือราหูหนาได้ ๒๐0 โยชน์ เป็น โกฏิปลาย ๒ ล้านวา ปล้องนิ้วมือและอันและอัน ยาวได้ ๕0 โยชน์เป็น ๔ ล้นวา ดัง”ราหูยาวแต่หัวคิ้ว ลงได้ ๓๐๐ โยชน์ เป็น ๔ โกฏิปลาย ๖ ล้านวา คิ้วและตาราหูยาว ๖ ร้อยโยชน์เป็นโกฏิปลาย ๑๐๐ วา และ ๙๖ โกฏิวาแล

อันว่าราหูอสุรินทะมีตนใหญ่มากนักฉันนี้ เมื่อมันเห็นพระจันทร์และพระอาทิตย์อันรุ่งเรืองงาม หากเดินเที่ยวไปในอากาศ มันมีความอิจฉาขอยอันมาก มันอดบ่ได้ ก็ขึ้นไปสู่วิถีคลองหนทางเทียวแห่งพระจันทร์และพระสุริยะ อ้าปากอันกว้างได้ ๒๐๐ โยซน์ นั่งอยู่ต้อนพระจันทร์พระสุริยะอาทิตย์อยู่พายหน้าแล

ในกาลนั้น จันทร์วิมานแลสุริยวิมานก็เข้าไปในปากราหู เป็นประดุจดั่งเข้าไปในรูอันลึกได้ ๑๐๐ โยชน์นั้น ส่วนเทวดาทั้งหลายอันอยู่ภายในวิมาน ทั้งสองรู้ว่ามีภัย จึงพากันกลัวตาย จึงพร้อมกันร้องหุยทีหนึ่งทีเดียวด้วยเสียงอันดังมากนัก ราหูนั้นลางคาบกั้นวิมานด้วยมือ ลางคาบมาคืบไว้ใต้คางแห่งตน บางคาบก็แมบสิ้นออกลุ่มคางแล้วกั้งไว้ด้วยลิ้นตน แล้วก็อมไว้ในปากตน ประดุจดั่งกินนั้นไว้ในละแวกปากภายในเขี้ยวแห่งตน ถึงแม้ราหูจะบีบเบียนฉันนั้นก็ดี รหูก็บ่อาจห้ามยังกำลังแรงแห่งพระอาทิตย์พระจันทร์นั้นได้ เมื่อราหูอม วิมานทั้งสองไว้ แม่นคิดใส่ใจว่าตนจักห้ามกำลังแห่งวิมานทั้งสองว่าบ่หื้อ เทียวไปได้อั้นแล จักจั้งไว้ก็บ่ได้ตามกำลังวิมานทั้งสอง จึงเลิกม้างยังขม่อมหัวแห่งราหู แม่นกั้งไว้ด้วยฝ่ามือ ด้วยลิ้นด้วยปากราหู ก็หากไปด้วยกำลังแห่งอันแรงแห่งวิมานทั้งสองนั้นสิ่งเดียวแล

ข้อความดังกล่าว ได้สื่อถึงรูปลักษณะและขนาดของราหู ซึ่งอุปมาว่าเป็นเทวบุตรตนหนึ่ง ที่มีความอิจฉาริษยาต่อพระอาทิตย์และพระจันทร์ ที่ส่องแสงรัศมีจำรัสในจักรราศีและท้องฟ้า จึงเข้าขวางเส้นทางโคจรพระอาทิตย์และพระจันทร์ เพื่อปิดบังรัศมีแห่งดาวพระเคราะห์ทั้งสองนั้น ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การกลืนกิน เอาคางหนีบไว้ เอามือบังหรือแลบสิ้นออกมาบังไว้ ซึ่งจินตนาการของคนโบราณดังกล่าวได้สื่อถึงลักษณะการเกิดสุริยคราส หรือจันทรคราสแบบต่างๆ เช่น กินแบบเต็มดวง หรือกินแบบไม่เต็มดวง เมื่อราหูอมวิมานทั้งสองไว้ ก็ไม่สามารถที่จะหยุดกำลังแห่งวิมานทั้งสองไม่ให้โคจรต่อไปได้ กำลังของวิมานทั้งสองก็จักเลิกม้างยังขม่อมหัวแห่งราหูหรือทะลุผ่านหัวของราหูออกไป ไม่ว่าจะเป็นการกินด้วยวิธีใต  สะท้อนถึงลักษณะราหูตามหลักความเป็นจริงว่า ราหูมิได้เป็นดาวพระเคราะห์ แต่เป็นเพียงจุดคราส หรือเงาของโลก ที่ไปสัมพันธ์กับพระจันทร์และพระอาทิตย์นั่นเอง

เครื่องรางที่นิยมสร้างขึ้นเพื่อแก้อาถรรพ์อันเกิดจากราหู โดยนิยมสร้างด้วยกะลาตาเดียว มักจะทำเป็นคู่แห่งสุริยะประภาและจันทรประภา คือการจำลองเหตุการณ์ สุริยคราสและจันทรคราสขึ้น แล้วอาศัยอำนาจแห่งพุทธคุณช่วยให้สุริยเทวบุตรและจันทรเทวบุตร รอดพันจากภัยที่เกิดจากราหู อุปมาดั่งบุคคลผู้มีภัยอันตรายจากสิ่งต่างๆ อำนาจพุทธคุณ จากยันต์กะลาราหูนี้จะช่วยให้พ้นภัยนั่นเอง

เมื่อเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว  คนโบราณจึงช่วยกันตีฆ้องร้องป่าว เคาะต้นไม้ ตีปี๊บ ฯลฯ เพื่อจะได้ช่วยกันขับไล่ราหูให้พ้นจากพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ เพื่อให้ความสมบูรณ์แห่งธรรมชาติกลับคืนมาอีกครั้ง อีกนัยยะหนึ่ง คือการร้องขอพลังอำนาจแห่งดาวทั้งหลาย ที่กำลังกลืนกินกัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการสมสู่ของดวงดาว อันเป็นต้นกำเนิดและนำพามาซึ่งความอุดมสมบูรณ์

• ปราชญ์ล้านนาได้ผูกโยงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติดังกล่าว ให้เชื่อมโยงเข้ากับเรื่องราวทางพุทธศาสนา โดยได้กล่าวว่าสุริยเทวบุตรและจันทร์เทวบุตร ได้อธิษฐานจิต ร้องขอพลานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าเข้ามาช่วยเหลือ ให้ตนทั้งสองพันจากทุกขภาวะอันเกิดจากราหูดังนี้ ส่วนเทวบุตรทั้งสองอันถูกราหูกลืนกินอยู่นั้นก็กลัวมากนักก็พากันสั่นระสายไปมา จึงระนึกถึงคุณพระพุทธเจ้า แล้วกล่าวว่า ภันเตข้าแต่เจ้ากูตน พ้นจากอุปัทวะกังวลอันเป็นทุกข์ทั้งมวล บัดนี้ตนข้าก็ได้ถึงยังทุกข์อันเป็นกังวล คือได้ถึงอำนาจแห่งข้าศึกก็มีฉันนี้แล ขอพระพุทธเจ้าจุ่งเป็นที่พึ่งแก่ข้าผู้อุปัทวะทั้งมวล อันหันมาป่านนี้เต๊อะ พระพุทธเจ้าตนประกอบด้วยมหากรุณาก็ปรารภซึ่งขาทั้งสอง แล้วก็กล่าวคาถาถึงราหูว่า ดูราอสุรินทะ ขาทั้งสองได้ถึงซึ่งพระตถาคตผู้เป็นอรหันตาสัมมาสัมพุทธะ ด้วยอาการว่าขอเป็นที่พึ่ง พระตถาคตทั้งหลายเทียรย่อมกรุณาโลกทั้งมวลดีหลี เหตุดั่งอั้นท่านราหูงวางเทวบุตรทั้งสองนั้นเสียเต๊อะ พระพุทธเจ้าจึงกล่าวพระปริตรสูตรหื้อเป็นที่พึ่ง แก่เหล่าเทวบุตรทั้งสองตน เมื่ออั้นราหูอสุรินทะเทวบุตรก็เป็นอันด่วนอันรีบมากนัก ก็สวะวาง ยังจันทร์เทวบุตรและ สุริยเทวบุตรเสีย แล้วราหูจึงหนีไปยังที่อยู่แห่งพญาไอศวรตนชื่อเวปจิตติอสุรินทร์ เมื่อเข้าไปแล้วก็ยังตกใจกลัวสะหลั้งเส้นขนลุกอยู่ทีหนึ่ง พญาไอศวรตนชื่อเวปจิตติก็เอ่ยถามยังราหูว่า เหตุใดท่านมีสภาวะดังนี้ ด้วยอันรีบอันด่วนปลงวางยังจันทวิมานแลสุริยะวิมาน แลท่านเป็นสภาวะอันสะดุ้งตกใจกลัวเหตุดังรือถึงเข้ามายืนอยู่ที่นี้นั้นจา เมื่อนั้นราหูจึงกล่าวแก่พญาไอศวรว์ อะหังอันว่าข้านี้อันพระพุทธเจ้าตนประเสริฐหากหื้อข้ากลัวด้วยคาถา คันว่าได้ยินแล้วบ่วางเสียดั่งอั้นหัวแห่งข้าจักแตกเป็น ๗ เสี่ยงชะแล

การที่พระพุทธเจ้าได้เข้ามาว่ากล่าวตักเตือนราหู และช่วยเหลือสุริยเทวบุตรและจันทรเทวบุตรนั้น  เป็นภาพสะท้อนถึงความยิ่งใหญ่ในบุญบารมีและพลานุภาพแห่งองศ์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่เหนือสิ่งใดแม้แต่พระราหูผู้ทรงอำนาจ พระอาทิตย์ และพระจันทร์ผู้เป็นที่พึ่งแก่เหล่าสรรพสิ่งในจักรวาลก็ยังต้องมาพึ่งในบารมีแห่งพระพุทธองค์ ย้ำเตือนถึงความเป็นพระไตรโลกนาถ หรือผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลกทั้งสามได้เป็นอย่างดี ดังนั้นสมัยโบราณเมื่อเกิดเหตุการณ์ประหลาดหรือเกิดอาเพศขึ้น ที่คนเมืองเรียกว่า ขีด จึงมักมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ชัยปริตรคาถา เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ออกไปให้พ้นภัยด้วยเหตุผลจากนิทานดังกล่าว

อธิบายการเกิดสุริยคราสและจันทรคราส ซึ่งจะมีชื่อเรียกและความหมายต่างๆ คือ ๑. ษัททวาสัพพโรคาภวิลติ ๒. ราชะวุฒิสัทพะสุขขากวิสะเร ๓. สัพพะสัตโตอุปัททโวโลเภภวิลเรติ ๔.ปริปุณณวุฒิโกโลเกพทุเทโวสุชิโตโหติ ๕ ซิภิกชะฎยังปนุสสะทุกชังภวิสะเร ๖.อัคคิภยังจะรังจะเรอุปัททวังทุกขังสัพพชนัง

ตามหลักโหราศาสตร์ ราหูถือว่ามีอิทธิพลต่อชะตาของบุคคลโดยทั่วไป ในตำราโหราศาสตร์ล้านนาหลายฉบับ ได้กล่าวลักษณะบุคคลที่เข้าข่ายมีเคราะห์หนักหรือเจ็บป่วย เนื่องด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ในสมัยนั้น ว่าเกิดจากอิทธิพลของราหู  จึงมีพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับราหูหลายอย่างด้วยเชื่อว่าจะช่วยให้เคราะห์กรรมเหล่านั้นเบาบางลง เช่น การส่งพระราหู บูชาพระราหู ยันต์พระราหู กะลาราหู ยันต์เทียนพระราหู เป็นต้น โดยเฉพาะการบูชาหรือส่งพระราหูได้มีการจำแนกรายละเอียดของเภทภัย อันเกิดจากราหูไว้อีกหลายประเภทเช่น ราหูไฟ ราหูน้ำเน่า ราหูค้อนก้อม ราหูขี่ตาบ ราหูเชือกเหล็ก ราหูเทครัว ราหูมรณา ราหูกำเนิด ซึ่งราหูต่างๆเหล่านี้ มีนัยความหมายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเคราะห์กรรมที่แฝงไว้เช่น

ราหูน้ำเน่า  คือราหูที่ทำให้เกิดอาเพศที่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ราหูเชือกเหล็ก คือราหูที่เป็นเหตุให้ต้องโทษใส่ชื่อคาจองจำ ราหูเทครัว คือราหูที่เป็นเหตุให้สูญเสียบุคคลในครอบครัว หรือราหูมรณาคือราหูที่เป็นเหตุให้เกิดภัยพิบัติหรือโรคภัยร้ายแรงมากสุดถึงขั้นเสียชีวิตเป็นต้น

• นอกจากนี้ ยังมีตำนานที่เป็นเรื่องมุขปาฐะเล่าสืบทอดกันมา เกี่ยวกับเหตุของการเกิดสุริยคราสและจันทรคราสว่า ครั้งหนึ่งมีพี่น้องสามคนอยู่ร่วมกันอย่างแร้นแค้น วันหนึ่งมีงานบุญเกิดขึ้นในชุมชน พี่ทั้งสองจึงไปช่วยงานบุญนั้นโดยการช่วยทำอาหาร ด้วยความหิวน้องคนเล็กจึงเข้าไปรบเร้าขอกินอาหาร พี่ทั้งสองก็ไม่ยอมตักให้เพราะยังไม่ถึงเวลาอันควร เมื่อพี่ทั้งสองเผลอ น้องคนเล็กจึงได้หยิบป้ากมาเลียและคาบเพื่อให้ได้รสน้ำแกง เมื่อพี่ทั้งสองมาเห็นจึงใช้ป้ากนั้นตีที่หัวและด่าทอท่ามกลางผู้คน ทำให้น้องคนเล็กรู้สึกอับอายขายหน้าและผูกพยาบาทไว้ว่า เกิดชาติหน้าฉันใดจะตามจองเวรพี่ทั้งสองคนนี้ตลอดไป หลังจากที่ทั้งสามพี่น้องได้จุติตายไปแล้ว พี่คนโตก็ได้ไปเกิดเป็นสุริยเทวบุตร คนที่สองไปเกิดเป็นจันทร์เทวบุตร ส่วนน้องคนสุดท้องไปเกิดเป็นอสุรินทราหู ด้วยเหตุนี้ราหูซึ่งมีจิตผูกพยาบาทพี่ทั้งสอง เมื่อมีโอกาสจะใช้ปากของตนคาบพระอาทิตย์และพระจันทร์ไว้ ด้วยเหตุเพราะตนเองอับอายเนื่องจากการใช้ปากคาบป้ากในอดีตชาตินั่นเอง 
*ป้าก = ทัพพี

CR : ดาราศาสตร์กับวิถีชีวิตคนล้านนา

วันอมาวสีสุริยคราสวงแหวนไฟ
พระอาจารย์จุดเทียนบูชา ” เทียนราหูคุ้มดวง “

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 2564
ขึ้น 1 ค่ำเดือน 7 ปีฉลู
เวลา 21.39 น.
ณ. วิหารสะเดาะเคราะห์พระเจ้าพันองค์
( จุดจันทร์ดับเวลา 17.52 น. )

แจ้งบูชาฤกษ์ได้วันนี้
แจ้งบูชาฤกษ์ที่นี่ >> LINE: @mayakarnlanna

 

ติดต่อบูชา LINE : @namotasa

ติดต่อบูชา LINE : @mayakarnlanna

You cannot copy content of this page