ขันธ์ห้า พลังจิต อิทธิฤทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์

ขันธ์ห้า พุทธศาสนาแยกร่างกายคนเรา ออกเป็นกลุ่มหรือกองได้ 5 กอง เรียกว่าขันธ์5 แบ่งเป็นรูปขันธ์1 นามขันธ์4 รูปขันธ์คือสภาพธรรม(ชาติ)ทุกอย่างซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ คือกองแห่งธรรมชาติที่จะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ มีหนาวและร้อนเป็นต้น เช่น หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีด ย่อมแตกสลายไป
รูป คือสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาบ้าง เห็นไม่ได้ด้วยตาบ้าง ซึ่งก็คือร่างกายและสิ่งที่อาศัย
เกิดจากกาย รูปบางอย่างเป็นรูปทิพย์ มีความละเอียดมาก เห็นได้ด้วยตาทิพย์
เช่น รูปของเทวดา พรหม เป็นต้น
  • ส่วนนามขันธ์4 ได้แก่
    1. เวทนา คือ ” รู้สึก ” ได้แก่อารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ หรือเฉยๆ
    2. สัญญา คือ ” รู้จำ ” ได้แก่ความจำ อันเกิดแต่การระลึกรู้ และ จดจำสิ่งต่างๆ ได้
    3. สังขาร คือ ” รู้คิด ” ได้แก่ความคิดอ่านปรุงแต่ง สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่รับรู้ โดยการสัมผัสทางประสาททั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ตลอดจนการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม อันเป็นเหตุให้จิตปรุงแต่งความคิดอ่านออกมาในรูปอารมณ์ต่างๆ
    4. วิญญาน คือ ” การรู้แจ้ง ” เป็นการหยั่งรู้ หยั่งเห็น ในสภาวธรรมทั้งปวง ของธรรมชาติตามความเป็นจริง

เวทนา สัญญา และสังขาร ทั้งสามขันธ์นี้ ท่านจัดไว้เป็น ” เจตสิก “ ส่วนวิญญานนั้น จัดไว้เป็น ” จิต ” เจตสิกทั้งสามเป็นองค์ประกอบของจิต รับรู้อารมณ์อย่างเดียวกับจิต เกิดดับพร้อมกับจิต และอาศัยอยู่ในวัตถุอย่างดียวกัน คือประสาทและสมอง จึงสันนิษฐานได้ว่า เจตสิกเป็นพฤติกรรมของจิต มีสมองเป็นที่เกิดและอาศัย

  • จิตมีหน้าที่ 4 ปราการคือ เห็น จำ คิด และรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการของจิตและสมอง ทำหน้าที่ร่วมกันอย่างละเอียด สลับซับซ้อน เป็นระเบียบ มีประสิทธิภาพ
การเห็น มี 4 ลักษณะ
1. เห็นด้วตา คือการมองเห็น
2. เห็นด้วนจิตสำนึก คือ นึกเห็นแบบจินตนาการ
3. เห็นด้วยจิตใต้สำนึก คือ รู้เห็นแบบมโนภาพ
4. เห็นด้วยจิตนอกสำนึก คือฝันเห็น แบบนอนหลับแล้วฝันเห็น
  • การมองเห็นแบบใช้สายตานั้น ต้องอาศัยนัยย์ตาและประสาทนำภาพไปสู่สมอง ซึ่งมีศูนย์การมองเห็นอยู่ที่ท้ายทอย
  • การนึกเห็นด้วยจิตสำนึก เป็นแบบจินตนาการ คิดนึกคิดให้เห็น อาจเห็นในขณะลืมตา หรือหลับตาก็ได้ โดยไม่ต้องใช้สายตาแต่อย่างใด คงอาศัยสมองคิดนึกให้เห็นเอาเอง
การรู้เห็น เป็นการเห็นด้วยจิตใต้สำนึก แบบมโนภาพคือภาพที่เกิดขึ้นในจิตใจโดยเฉพาะ ไม่ต้องอาศัยความคิดนึก หรือสายตาแต่ประการใด การณุ้เห็นในลักษณะนี้ ด้องอาศัยการทำสมาธิ โดยนั่งหลับตาเบาๆ ตั้งจิตให้แน่วแน่ แล้วเพ่งเอาวัตถุหรืออารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่อยู่ในห้วงแห่งความคิดนึก จนรวมตัวเข้าเป็นหนึ่ง ไม่คลาดเคลื่อน ก็จะมองเห็นในลักษณะ ” รู้เห็น ” เกิดจากอำนาจสมาธิ ซึ่งเข้าใจกันโดยทั่วไปว่า เป็นการเห็นภายใน หรือ เห็นทางใน นี่คือลักษณะการรู้เห็นแบบตาทิพย์ ที่เกิดจากจิตใจโดยตรง เรียกว่า ” ทิพจักษุญาณ หรือตาทิพย์ ผู้ที่มีตาทิพย์สามารถมองเห็นได้ทะลุปรุโปร่ง ไม่ว่าใกล้ หรือไกลแสนไกล หรือซ่อนเร้นอยู่ ณ ที่ใดหรือต่างภพ ต่างมิติ
  • ตาทิพย์อาจเกิดขึ้นเอง หรือพรสวรรค์พิเศษ ไม่ต้องอาศัยสมาธิแต่อย่างใด บุคคลที่มีตาทิพย์ สามารถทำนายทายทักได้แม่นยำดุจตาเห็น และรู้เหตุการณ์ ความเป็นไปของบุคคลอื่น หรือของโลกได้ถูกต้อง
เกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณทางอภิญญา มีความสามารถนอกเหนือธรรมชาติ ล้วนมีตาทิพย์รู้เห็นได้สารพัด เพราะอำนาจแห่งสมาธิจิตในขั้นฌาน การรู้เห็นทำนองนี้มีอยู่ 3 ปราการ
1. รู้เห็นเหตุการณ์ในดีตที่ล่วงมาแล้ว ได้นานๆ นับหลายพันปี
2. รู้เหตูการณ์เรื่องราวปัจจุบัน
3. รู้เห็นเหตุการณ์เรื่องราว ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าอันนานแสนนาน นับร้อย นับพันปี
  • การฝันเห็น คือเห็นด้วยจิตนอกสำนึก เป็นพฤติกรรมของวิญญานในขณะนอนหลับ สามารถรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ได้เช่นเดียวกับขณะตื่นอยู่ มนุษย์ก็ดี สัตว์ก็ดี เมื่อนอหลับแล้วมักฝันเสมอ อาจเป็นการฝันดี ฝันร้าย หรือละเมอ แล้วแต่เหตุปัจจัย ความฝันในขณะนอนหลับมีลักษณะคล้ายนิมิต หรือความฝันในขณะจะตาย ดังที่เข้าใจกันว่าเป็นวิญญานออกจากร่างไปมิติอื่น ถ้าเป็นการนอนหลับ วิญญานก็สามารถกลับเข้าสู่ร่างเดิมได้ แต่ถ้าตาย วิญญานก็ไม่สามารถกลับเข้าสู่ร่างเดิมได้อีก คงทำหน้าที่เป็นพลังงานต่อไป ไม่มีสิ้นสุด อาจเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในร่างอื่นๆ ได้ ตามสภาวะ
  • ความจำ ความจำเป็นพฤติกรรมของจิต สามารถจดจำ ระลึกรู้ โดยไม่ต้องอาศัยสมอง เป็นที่ทราบกันดีว่า สมองมีศูนย์ควบคุมความจำ คอยเก็บรวบรวมข้อมูลไปสู่จิต สิ่งไหนประทับใจ จิตก็รับจดจำไว้ สิ่งไหนไม่ประทับใจ จิตก็ละปล่อยวางเสีย ดังนั้น จิตจึงมีความจำได้แม่นยำ แม้เป็นเวลานานๆ ก็มิได้หลงลืมเรื่องราวในอดีตชาติ ก็ยังสามารถระลึกได้เป็นอย่างดี ผิดจากความทรงจำที่เก็บไว้ในสมอง ซึ่งนานๆ ไป ก็อาจหลงลืม เลือนลางไปตามอายุขัย ดังนั้นจิตจึงเป็นผู้ ” รู้จำ ” ได้เป็นพิเศษ เรียกว่า ” บุพเพนิวาสนุสติญาณ ” คือความรู้ ความสามารถ ระลึกชาติก่อนของตนเองได้
ความจำอันเป็นเรื่องของจิตใจ อาจเกิดขึ้นเอง หรือเกิดขึ้นโดยการทำสมาธิก็ได้ ถ้าเกิดขึ้นเองก็สามารถระลึกชาติได้เพียงชาติเดียว คือชาติที่แล้วมาเท่านั้น ส่วนความจำที่เกิดจากสมาธิ หมายถึง ” ฌาณ ” สามารถระลึกรู้เห็นเหตุการณ์ ความเป็นอยู่และชีวิตตนเองได้หลายๆ ชาติในอดีต
  • คิด คิดเป็นพฤติกรรมของจิต ในรูปแบบจินตนาการ ได้แก่การรู้คิด ซึ่งต้องอาศัยสมองเป็นปัจจัย เช่นเมื่อเราคิดอะไรขึ้นมาด้วยสมอง จิตก็จะปรุงแต่งความคิดอันนั้นให้ละเอียดยิ่งขึ้น เป็นการไตร่ตรองเพื่อให้เกิดความรู้คิด สามารถพิจารณาเหตุผลว่า ถูก หรือผิดประการใด คือมีวิจารณญาณนั้นเอง
  • รู้ รู้เป็นอาการของวิญญานโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นผู้รู้แจ้ง อันหมายถึงความรู้ ที่เกี่ยวกับวิปัสสนาญาณนั้นเอง วิปัสสนาญาณเป็นความรู้แจ้งตรงต่อสภาวะธรรม ของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งปวง หลักพุทธศาสนาเน้นหนักในเรื่องกฏเกณฑ์ของธรรมชาติว่า ทุกสิ่งมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปในที่สุด ตามอายุขัยและกาลเวลา ทุกๆอย่างย่อมแปรปรวนไปตามเหตุและปัจจัย มันไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ขณะตั้งอยู่ก็ทนทุกข์ ทรมาร เดือดร้อนนานัปการ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ผุพังเน่าเปื่อยไปตามกาลเวลา นั้นคือทุกขัง และทุกอย่างเราไม่สามารถบังคับบัญชา ให้เป็นไปตามความปรารถนา คืออนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เพียงแต่สมมุติให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้เข้าใจความหมายตามสามัญสำนึกของคนเราเท่านั้น ไม่มีแก่นสารอะไรเลย เพราะทุกสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต ย่อมประกอบด้วยสสารและพลังงานเท่านั้น
ทุกสิ่งในโลกนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ วิญญานธาตุ และอากาศธาตุแทรกซึมอยู่ด้วย ธาตุทั้ง6 ประกอบกันขึ้นอย่างวิจิตรพิศดาร และเป็นไปตามกฏของธรรมชาติ คือเกิด แล้วก็ดับไปในที่สุด ไม่มีอะไรคงทนถาวรอยู่ได้ ไม่สามารถจะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามใจได้ มันเป็นกฏธรรมชาติที่เที่ยงแท้แน่นอน ดความรู้ที่จะเจาะเข้าถึงกฏเกณฑ์ของธรรมชาติเหล่านี้คือ ” ความรู้แจ้ง “
  • พฤติกรรมของจิตดังที่กล่าวมาข้างต้น คือ เห็น จำ คิด และรุ้ พอจะสรุปได้ความว่า เมื่อเราพบเห็นสิ่้งใด ความจำย่อมเกิดขึ้น เมื่อจำได้แล้วนำมาคิดอ่าน เมื่อคิดได้แล้วย่อมรู้ตามไปด้วย ดังนั้นจิตจึงทำหน้าที่ 4 ปราการ อย่าพร้อมเพรียง ในขณะเดียวกันนั้นเอง ทำให้จิตมีพลังอำนาจสร้างสรรค์ และรอบรู้ด้วยประการทั้งปวง ดังเช่น ในการทำสมาธิขั้นสูง จิตที่แน่วแน่ มุ่งมั่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ตรงต่อสภาวะธรรม การปฏฺบัติสมาธิเช่นนี้ย่อมบังเกิด ความรู้แจ้ง ในเรื่องธรรมชาติของชีวิตและจิตใจ
  • วิวัฒนาการโครงสร้างของสมองส่วน อาร์-คอมเพล็กซ์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึก ที่เกิดจากการสัมผัสทาง ตา จมูก ลิ้น กาย ตลอดจนพฤติกรรมต่างๆ ที่ทำให้เกิดมีอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ แล้วแต่เหตุปัจจัย เหล่านี้เป็นเรื่องของเวทนา
  • สมองส่วนลิมบิค ซิสเต็ม ทำหน้าที่เกี่ยวกับความ ” รู้จำ ” ซึ่งเกิดจากการระลึกรู้ และจดจำสิ่งต่างๆ ที่มาสัมผัสกับตัวเรา อันเป็นเรื่องของสัญญา
  • สมองส่วนนีโอ คอร์เท็กซ์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความคิดอ่านสร้างสรรค์ หรือปรุงแต่งอารมณ์ต่างๆ ในรูปแบบจินตนาการ คือ ” รู้คิด ” เป็นเรื่องของ ” สังขาร “
จากข้อมูลดังกล่าวจึงวินิจฉัยได้ว่า เจตสิกเป็นปรากฏการณ์ของสมอง และทำหน้าที่เป็นพฤติกรรมของวิญญาน ซึ่งเป็นธาตุรู้ หรือ ” รู้แจ้ง ” คงไม่ผิดหลักวิชาการทางพุทธศาสนาแต่ปราการใด

ระบบประสาทและสมอง เมื่อได้รับสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก การรับรู้ก็เกิดขึ้น เช่นทางตา รับรู้การมองเห็น ทางหู รับรู้การได้ยิน ทางจมุก รับรู้กลิ่น ทางลิ้นรับรู้รสต่างๆ ทางกายรับรู้ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ดังนี้เป็นต้น เมื่อคนเรามีความรู้สึกทางสัมผัส ย่อมเป็นสื่อให้เกิดความนึกคิดและเรียนรู้ต่อไปว่า อะไรเป็นอะไร ถ้าสนใจหรือติดใจ สมองก็จะจดบันทึกเอาไว้ ถ้าไม่สนใจ สมองก็จะละเว้นไม่บันทึกไว้ ดังนั้นความรู้สึก ความรู้จำ และความรู้คิด จึงเป็นกระบวนการของสมอง หมายความว่า เจตสิกทั้งสาม คือเวทนา สัญญา และสังขาร เป็นปรากฏการณ์ของสมอง และเป็นพฤติกรรมของจิตอีกด้วย

วิญญาน วิญญานเรียกว่า ” จิต “ เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มีความรู้แจ้งในอารมณ์ต่างๆ ซึ่งเกิดจากการสัมผัสระหว่าง อายตนะภายนอก 6 กลุ่ม กับอายตนะภายใน 6กลุ่ม กล่าวคือวิญญานจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการรับรู้ผ่านทวารทั้ง 6 ในร่างกาย ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ โดยมีระบบประสาทเป็นสื่อและปัจจัย ทำให้เกิดความรู้แจ้งขึ้น เช่น ความรู้ทางตา เรียกว่า ” จักขุวิญญาน ” ความรู้แจ้งทางหู เรียกว่า ” โสตวิญญาน ” ความรู้แจ้งทางจมูก เรียกว่า ” ฆานวิญญาน ” ความรู้แจ้งทางลิ้น เรียกว่า ” ชิวหาวิญญาน ” ความรู้แจ้งทางกาย เรียกว่า ” กายวิญญาน ” ความรู้แจ้งทางจิตใจ เรียกว่า ” มโนวิญญาน “
  • ความจริงแล้ว วิญญานคือธาตุรู้ของจิตนั้นเอง และวิญญานจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยประสาทความรู้สึกทางทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วนำไปสู่สมอง สมองก็รับพิจารณา จดจำ บันทึกเอาไว้ รวบรวมข้อมูลไปสู่จิต เพื่อทำให้รู้แจ้งในอารมณ์ต่างๆ นั้นได้
  • หลักวิชาทางพุทธศาสนากล่าวว่า วิญญาน มีหน้าที่รับถ่ายทอดความรู้สึกจากประสาททั้ง5 ที่เรียกว่า “ปสาท” คือ จักษุปสาท โสตปสาท ชิวหาปสาท ฆานะปสาท กายปสาท ซึ่งเป็นที่เกิดของวิญญานทั้ง5 ปสาทที่กล่าวมานี้ หมายถึงประสาทซึ่งมีอยู่ในทวารทั้ง5 ของคนเรา ซึ่งเป็นสื่อรับความรู้สึกจากสิ่งภายนอก เข้าสู่จิตใจ หมายความว่า..ความรู้สึกเกิดจากประสาทสัมผัส ส่วนความรู้แจ้งในอารมณ์นั้น เกิดจากวิญญาน คือธาตุรู้ของจิตนั้นเอง ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในร่างกาย
  • จิต เป็นนามธรรมไม่มีตัวตน แต่อาศัยอยู่ทั่วไปในระบบประสาท ประกอบด้วยธาตุชนิดหนึ่ง เรียกว่า ” วิญญานธาตุ ” ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงานเอนกประสงค์ของคนเราอย่างแท้จริง สามารถริเริ่ม สร้างสรรค์ หรือเนรมิตอะไรได้ตามความปรารถนา ดังที่ปรากฏให้เราได้พบเห็นอยู่ทุกวัน เช่นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ตลอดจน หลักปรัชญาทุกสาขา มีการพัฒนาไม่หยุดหย่อน
  • ธาตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปธาตุ หรือนามธาตุ ย่อมมีพลังงานอยู่ในตัวไม่สูญหายไปไหน แต่เมื่อมีเหตุปัจจัยอันเหมาะสม ก็จะแปรสภาพไปเป็นอย่างอื่นได้ เช่น ถ้าเป็นรูปธาตุ ก็จะแปรสภาพเป็นความร้อน แสง เสียง ถ้าเป็นนามธาตุ ก็จะแปรสภาพเป็นอารมณ์ คือความคิดฝันทางสร้างสรรค์เรมิตอะไรก็ได้ หรืออาจแสดงอานุภาพเป็นอิทธฺปาฏิหาริย์ก็ได้
จิตวิญญาน เป็นกลลวง เฉกเช่นมายากล มายากลเป็นกลลวงเช่นใด จิตวิญญานก็เป็นกลลวงเช่นนั้น มายากลชั้นเลิศคือจิตวิญญาน ที่สามารถแสดงความมหัศจรรย์ต่างๆ ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอด้วยกลอุบาย อันแยบคายจนยากที่จะสังเกตุเห็นได้ ทางปรัชญาจิตวิญญานคือการแสดงความรู้ทางปัญญา ส่วนด้านอิทธิปาฏิหาริย์เป็นการแสดงความสามารถพิเศษ เกินกว่าวิสัยของคนธรรมดาจะทำได้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายมายากลมาก ทำให้เข้าใจผิด คิดสงสัยไปต่างๆ นาๆ
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้า ท่านจึงตรัสห้ามภิกษุสงฆ์ ผู้สำเร็จอภิญญาทางอิทธิฤทธิปาฏิหาริย์ มิให้แสดงฤทธิ์ เพราะจะทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด คิดว่าเป็นการแสดงมายากล เป็นที่เสื่อมเสียแก่วงการพุทธศาสนา ตามความจริงแล้ว อำนาจพลังจิตทางอิทธิฤทธิ์มีจริง!! ซึ่งเกิดด้วยกำลังของสมาธิตามขั้นตอน เช่น สมาธิขั้นสูงเข้าถึงฌาน ย่อมมีพลังจิตแก่กล้า สามารถแสดงฤทธิ์ได้โดยไม่ต้องสงสัย ซึ่งมีปรากฏให้เราได้พบเห็นจากบรรดาผู้ทรงคุณอภิญญาเหนือโลก เหนือธรรมชาติ

พระพุทธองค์ทรงตรัสรับรองไว้ว่า ” ถ้าเราหวังว่า เราพึงมีอิทธิวิธีประกาศต่างๆ คือ ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุกำแพง ทะลุฝา ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ เดินได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังขัดสมาธิคู้บัลลังก์ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ได้ด้วยฝ่ามือ และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้ ดังนี้ก็ตาม ในอิทธิวิธีนั้นๆ เราก็ถึงแล้วซึ่งความสามารถทำได้ จนเป็นสักขีพยาน ” นี้คือพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้า ทรงตรัสแก่เกวัฏฏคหบดี ที่ปาวาริกัมพวัน ว่าอิทธิฤทธิ์ หรืออิทธิปาฏิหาริย์เป็นเลิศ ในการปราบศัตรูหมู่มารทั้งหลาย ดังเป็นที่ทราบกันดีในหมู่พุทธบริษัท

LINE : @mayakarnlanna

ติดต่อบูชา LINE : @mayakarnlanna

You cannot copy content of this page