-
อำนาจจิตได้รับการพิสูจน์ และเป็นที่ยอมรับ ถูกเรียกว่า จิตวิทยา การใช้อำนาจจิตเพื่อช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น มักหลีกเลี่ยงคำว่า“ไสยศาสตร์” เพื่อให้เกิดทัศนคติในเชิงบวก
- พฤติกรรมของสิ่งที่มีชีวิตล้วนถูกขับเคลื่อนด้วยพลังแห่งจิตใต้สำนึก(Power of Subconscious Mind)แต่มนุษย์มีจิตสำนึกในการกลั่นกรองพลังจิตใต้สำนึกได้ดีกว่าสัตว์ วิถึของมนุษย์จึงแตกต่างจากสัตว์ แต่เมื่อใดที่จิตสำนึกไม่อาจควบคุมพลังจิตใต้สำนึกได้ ขณะนั้นมนุษย์ก็ไม่ต่างจากสัตว์
- มนุษย์ทุกคน ทุกเชื้อชาติทุกศาสนา ทุกความเชื่อ ล้วนสร้างกระแสจิตให้มีอำนาจด้วยความอยากของตน การปลุกกระแสจิตให้มีอำนาจ ถือเป็นการเข้าสู่วิถีไสยศาสตร์ เช่น การตั้งจิตอธิฐาน การบนบาน การทำพิธีกรรมต่างๆ วิถีทางไสยศาสตร์ จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ความอยาก ความศรัทธา กระแสจิต กระแสจิตฝั่งตรงข้าม
1.ความอยาก หรือแรงปรารถนา คือ ตัวกำหนดทิศทางของพลังกระแสจิต
2. .ความศรัทธา คือพลังแห่งความเชื่อมั่น ศรัทธาเป็นพลังช่วยให้ความอยากประสบความสำเร็จให้ง่ายขึ้น
3.กระแสจิต เป็นสื่อให้ความอยากเหนี่ยวนำไปยังเป้าหมาย กระแสจิตที่บริสุทธิ์ อันปราศจากความศรัทธายึดเหนี่ยวย่อมไม่มีแรงต้านความอยาก ..ขณะเดียวกันหาก กระแสจิตนั้นมีพลังศรัทธายึดเหนี่ยวในทิศทางเดียวกับความอยาก อำนาจของกระแสจิตก็จะเพิ่มเป็นทวีคูณ
4.กระแสจิตฝั่งตรงข้าม(คู่พันธสัญญา)หรือผู้ถูกสั่งจิต
- การอยู่เหนือเส้นทางไสยศาสตร์ หมายถึง การปล่อยให้สิ่งที่จะเกิดขึ้นให้เป็นไปตามครรลอง (ปล่อยให้จิตทำงานไปตามความศรัทธา) และปฏิบัติต่อสิ่งนั้นตามครรลอง
-
การใช้อำนาจจิตทำลายอำนาจจิต มีให้เห็นทุกวันทุกเวลา เช่น การตอกย้ำด้วยโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้รู้จักสินค้า เพื่อให้รู้ว่าดี เพื่อให้เกิดความอยากได้ แล้วเราก็ตกเป็นเหยื่อของอำนาจจิตนี้ และถ้าเรามีอำนาจจิตแข็งพอ ไม่หลงเชื่อง่ายๆ คิดใคร่ครวญไตร่ตรองให้ดี อำนาจจิตที่ชั่วร้ายไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ไม่สามารถทำอันตรายเราได้ การใช้อำนาจจิตที่ถูกต้อง ควรเป็นผู้ที่รู้เรื่องจิต ไม่ใช่เชื่อตามบอกกล่าว เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังอาจถูกหลอกให้เดินไปในทิศทางที่ผิด เห็นแก่ตัว เบียดเบียนผู้อื่น สุดท้ายก็จะกลายเป็นคนล้มเหลวในชีวิต
ธรรมชาติที่เลวร้ายในตัวเรา ก็คือ อำนาจจิตที่ขาดการขัดเกลา เช่น ใจไม่ใฝ่เรียนรู้ ใจไม่ใฝ่หาความดี ใจไม่ใฝ่หาความปลอดภัย ใจไม่ใฝ่หาสันติ การเพิกเฉยไม่ขัดเกลาอำนาจจิตที่เลวร้ายในตัวตน จะนำพาชีวิตไปสู่บทเรียนที่ยากแสนสาหัส ตัวอย่าง อุบัติเหตุบนท้องถนน เกิดจากใจไม่ใฝ่หาความปลอดภัย จิตที่เลวร้ายก็ทำงานอย่างเต็มที่โดยขาดความระมัดระวังและนำไปสู่ผลกรรมที่กำหนดไว้ แต่ถ้าเรามีใจใฝ่ความปลอดภัย จิตก็จะรับรู้และพยายามหลีกเลี่ยงเคราะห์กรรมนั้นได้
ติดต่อบูชา LINE : @mayakarnlanna