-
การเพ่งกสิณ ก็คือการเพ่งอารมณ์(ไม่ใช่เพ่งมอง) ให้จิตจับอยู่ในกสิณจนรวมอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวไปที่วัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เทียน พระพุทธรูป อากาศ น้ำ แล้วบันทึกการรับรู้ในคุณสมบัติของวัตถุนั้นลงในจิต จนกระทั่งหลับตาลงภาพนั้นก็เกิดได้ชัดเจนในนิมิต (ตาใน ) หรือนิมิตกสิณเป็นภาพติดตา
-
การเพ่งกสิณเป็นอุบายวิธีลัดของจิตให้เข้าสู่สมาธิได้อย่างรวดเร็ว เพราะจิตจะยึดเอาภาพนิมิตกสิณมาเป็นเครื่องรู้ของจิตแทนอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในจิต และรับเอาภาพนั้นมาเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต และภาพนิมิตนั้นจะค่อยๆพัฒนาขึ้นไปตามความละเอียดของจิต เริ่มตั้งแต่.. ความคมชัด จนบังคับได้ จนถึงขั้นอนัตตา คือความว่าง และ แสงสว่าง กล่าวคือ..ภาพนิมิตทั้งหลายจะหมดไปจากจิต แม้กระทั่งอาการและสัญญาในดวงจิตก็จะจางหายไปด้วย จากนั้นจิตจึงเข้าสู่กระบวนการของสมาธิในขั้นญาณต่อไป..
-
เมื่อจิตเข้าถึงฌาน 4 พอถึงฌานที่ 5 ก็เป็นจิตเฉย มีอุเบกขาอยู่กับภ่พกสิณต่างๆ ที่จิตจับเอาไว้
–ปฐวีกสิณ เนรมิตคนๆ เดียว ให้เป็นหลายๆ คนได้ เนรมิตคนหลายๆ คนให้เป็นคนเดียวได้ ทำให้น้ำและอากาศแข็งได้ สามารถย่อแผ่นดินให้ใกล้ในการเดินทางได้
– อากาศกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่แกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่ง มีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้
จะเห็นว่า.. การเพ่งกสิณมีอานุภาพอันน่าเหลือเชื่อสุดประมาณ เป็นทางลัดการฝึกจิตเนรมิต และเป็นการเข้าสมาธิที่ง่ายที่สุด บางคนฝึกแล้วเห็นนิมิตก็รู้สึกกลัว เครียด ต้องฝึกรู้และวางนิ่งเฉย ต่อมายาภาพที่มาทดสอบจิตใจ ก็จะเข้าถึงสภาวะจิตอันวิเศษแห่งกสิณได้ในที่สุด
ติดต่อบูชา LINE : @namotasa