มหาสะมะยะสูตร

ตำนานและพุทธอนุภาพบทสวดมนต์
“มหาสมยสูตร”

พระพุทธมนต์เหนือยุคสมัยอานุภาพครอบคลุมทุกภพชาติ

มหาสมยสูตร พระสูตรเป็นที่ประชุมของเทวดาและพรหมถึง ๑๐ โลกธาตุ ผู้ใดท่องบ่นสาธยายเป็นประจำ จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง แม้นเทวดาก็ชื่นชม  อีกทั้งพรหมก็สรรเสริญ

“โลกธาตุหนึ่งมีอาณาเขตเท่าใด”
มีปรากฏในพระไตรปิฎก ดังนี้

– โลกธาตุแสนโกฏิจักรวาล –

“ดูกรอานนท์ จักรวาลหนึ่งมีกำหนดเท่ากับ

โอกาสที่พระจันทร์พระอาทิตย์โคจร

ทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์

โลกมีอยู่พันจักรวาลก่อน

ในโลกพันจักรวาลนั้น

มีพระจันทร์พันดวง มีอาทิตย์พันดวง

มีขุนเขาสิเนรุพันหนึ่ง

มีชมพูทวีปพันหนึ่ง

มีอปรโคยานทวีปพันหนึ่ง

มีอุตตรกุรุทวีปพันหนึ่ง

มีปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง

มีมหาสมุทรสี่พัน

มีท้าวมหาราชสี่พัน

มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาพันหนึ่ง

มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์พันหนึ่ง

มีเทวโลกชั้นยามาพันหนึ่ง

มีเทวโลกชั้นดุสิตพันหนึ่ง

มีเทวโลกชั้นนิมมานรดีพันหนึ่ง

มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสตีพันหนึ่ง

มีพรหมโลกพันหนึ่ง

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างเล็กมีพันจักรวาล

โลกคูณโดยส่วนพันแห่งโลกธาตุอย่างเล็ก

ซึ่งมีพันจักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุ

อย่างกลางมีล้านจักรวาล

โลกคูณโดยส่วนพันแห่งโลกธาตุ อย่างกลาง

มีล้านจักรวาลนั้น นี้เรียกว่า

โลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณแสนโกฏิจักรวาล

ดูกรอานนท์ ตถาคตมุ่งหมายอยู่

พึงทำโลกธาตุอย่างใหญ่ประมาณแสนโกฏิจักรวาลให้รู้แจ้งได้ด้วยเสียง หรือทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่มุ่งหมาย ฯ”

(จาก จูฬนีสูตรพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต)

– ตำนานมหาสมยสูตร –

พระพุทธมนต์มหาสมัยสูตรนี้ เป็นพระบาลีคาถาปัฐยาวัตร พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะก็บริบูรณ์สุนทรภาษิตเป็นที่เจริญจิตเจริญใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ตั้งใจสดับสุดแต่ว่า เมื่อยกขึ้นกล่าวคราวใด ในสถานที่ใด ก็เป็นมงคลในคราวนั้น ในสถานที่นั้น ดังนั้น

แต่โบราณกาล ทุกครั้งที่มีการประชุมใหญ่เพื่อมงคลสมัย ก็นิยมอาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์มหาสมัยสูตรนี้ ท่านผู้รู้กล่าวว่า มหาสมัยสูตรนี้ เป็นพระคาถาที่เทพเจ้าพอใจมาประชุมสดับ ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะมีการสวดมหาสมัยสูตรนี้มีนิยมให้เจ้าของงานจัดตั้งเสนาสนะให้เรียบร้อย ทำให้สะอาด ตกแต่งให้งาม อาสนะของพระสงฆ์ต้องลาดผ้าขาว เพดานก็ใช้ขึงผ้าแดง หรือ ผ้าขาวแต่ระบายรอบเป็นผ้าแดง ห้อยย้อยด้วยบุบผามาลัย เพราะนิยมว่าจะมีเทพเจ้าทั้งหลาย มีภุมมเทวดา เป็นต้น มาประชุมฟังด้วย หากแต่ส่วนมากนิยมจัดทำเฉพาะในคราวมีงานพิธีสมรสอันนิยมเรียกว่า วิวาหมงคล ซึ่งผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงพอใจต้องการให้เทพบุตรเทพธิดามาร่วมประชุมเพื่อสวัสดิมงคลในงาน ถือกันเป็นธรรมเนียมทีเดียว

ถ้าเจ้าภาพต้องการให้พระสงฆ์สวดมหาสมัยสูตร ก็ต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องดังกล่าวแล้ว พระสงฆ์ก็จะสวดให้ แม้จะไม่ออกปากร้องเรียน ขอให้ท่านสวดก็ตาม ด้วยสถานที่แสดงชัดให้ท่านทราบ แต่ถ้าไม่จัดสถานที่ให้ถูกต้องดังกล่าว แม้เจ้าของงานมีความประสงค์จะให้สวดมหาสมัยสูตร พระสงฆ์ก็จะอิดเอื้อนไม่ยอมสวดให้ ด้วยจัดที่ไม่สมเกียรติมหาสมัยสูตร

มีเรื่องเล่าว่า สมัยเมื่อพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานรุ่งเรืองอยู่ที่ลังกาทวีป ครั้งนั้น พระสุตธระรูปหนึ่ง ได้ตั้งกัลยาณจิตสาธยายมหาสมัยสูตรด้วยสมาธิจิต ตั้งแต่ต้นจนจบลงด้วยดี ขณะนั้น เทพธิดาซึ่งสิงอยู่ที่ไม้กากะทิงใหญ่ ใกล้ประตูถ้ำโกฏิบรรพต มีศรัทธาเลื่อมใสมาฟังมหาสมัยสูตร ซึ่งพระสุตธระรูปนั้นสาธยายด้วยจิตสงบจนจบลง เกิดความปิติปราโมทย์เปล่งวาจาสาธุการว่า “ สาธุ สาธุ”

ครั้นพระสุตธระ ได้สดับเสียงสาธุการ ของนางเทพธิดา ก็แปลกใจว่ามีเสียงสาธุของใครปรากฏขึ้นในเวลาราตรีเช่นนี้ จึงร้องถามออกไปว่า

“ ใครนั้น เปล่งเสียงสาธุการ”

“ดิฉัน เทพธิดา ซึ่งสิงสถิตย์อยู่ที่ไม้กากะทิง แทบประตูถ้ำ”

“ขอโทษเถอะ แม่เทพธิดา สาธุการให้ใครไม่ทราบ”

“ถ้าสาธุการถวายพระคุณท่านซิเจ้าค๊ะ”

“ถวายอาตมาเรื่องอะไร”

“เรื่องสาธยายพระมหาสมัยสูตร ของพระคุณท่านนั่นแหละค่ะ”

“แม่เทพธิดาฟังแต่เมื่อไร”

“ตั้งแต่พระคุณท่านเริ่มทีเดียวค่ะ พระสูตรนี้มีอรรถพยัญชนะไพเราะจริงนะคะ ดิฉันได้ฟังเป็นครั้งที่สองปลาบปลื้มใจมากค่ะ”

“ครั้งที่หนึ่ง แม่เทพธิดาฟังที่ไหนไม่ทราบ”

“ได้ฟังพระบรมศาสดาทรงแสดงด้วยพระองค์เองทีเดียวค่ะ ที่ป่ามหาวัน ตั้งแต่บัดนั้นมาจนบัดนี้ จึงได้ฟังพระคุณท่านเป็นครั้งที่สอง”

“ครั้งนั้น มีผู้คนฟังมากไหม แม่เทพธิดา”

“นอกจากพระสงฆ์พุทธสาวกแล้ว ไม่มีมนุษย์ที่ไหนได้ฟังหรอกค่ะ มีแต่เทพยดามาประชุมกันถึงหมื่นโลกธาตุ สุดที่จะนับประมาณทีเดียวค่ะ”

“แม่เทพธิดาได้เข้าไปอยู่ในที่เฉพาะพระพักตร์พระบรมศาสดา ณ ป่ามหาวันเทียวหรือ”

“แหม พูดถึงเรื่องนี้ ดิฉันยังอดน้อยใจในวาสนาต่ำต้อยน้อยศักดิ์ สำหรับตัวดิฉันอยู่ไม่หายเลยค่ะ คือ ครั้งนั้น เทพเจ้าผู้มเหศักดิ์มาประชุมกันแน่น อย่าพูดถึงป่ามหาวันเลยค่ะ ที่ดิฉันอยู่ และดิฉันก็มิได้ตั้งใจว่าจะอยู่ด้วย รู้ตัวว่าบุญวาสนาน้อย อุตส่าห์ถอยไปอยู่ป่าชมภูโกละ คิดว่าจะยืนฟังอยู่ที่นั่น ครั้นเทพยดาผู้มเหศักดิ์มามากเข้า ก็ต้องถอยไปโรหนะชนบท ถอยไปหลังมหาคาม ในที่สุดตกทะเลเลยลงไปยืนแช่น้ำฟังอยู่เพียงคอ แต่ก็ต้องอดชมบุญตัวอยู่มากเหมือนกันที่ได้ฟังจนได้”

“ก็อยู่ไม่ไกลออกไปเช่นนั้น แม่เทพธิดาจะมองเห็นพระบรมศาสดาละหรือ? จะได้ยินพระสุรเสียงที่ตรงตรัสประทานอยู่หรือ ?”

“ได้ยินเจ้าค่ะ ได้ยินชัดทุกบททุกพยัญชนะเทียวค่ะ แม้พระพักตร์พระบรมศาสดาดิฉันก็เห็นถนัดมากค่ะ เสมือนหนึ่งว่าทรงประทับนั่งแสดงอยู่เฉพาะหน้าดิฉันเทียวค่ะ ดิฉันยังรู้สึกละอายพระองค์ที่ทรงทอดพระเนตรเห็นดิฉันยืนแช่น้ำฟังธรรมอยู่ตลอดเวลา”

“แม่เทพธิดาทราบไหมว่า ครั้งนั้นที่เทพเจ้าบรรลุมรรคผลประมาณสักเท่าใด”

“ประมาณไม่ได้ดอกพระคุณท่าน มากเหลือเกิน”

“แล้วก็แม่เทพธิดาได้บรรลุอรหันต์หรือเปล่า”

“ไม่ได้หรอกค่ะ ดิฉันบุญน้อย”

“ถ้าไม่เช่นนั้น แม่เทพธิดาก็คงจะได้บรรลุอนาคามีผล”

“แม้อนาคามีผลก็สุดเอื้อมค่ะ ได้บอกแล้วว่า ดิฉันบุญน้อยมาก”

“มิฉะนั้น ก็ต้องไปพลาดพระสกทาคามี เพราะแม่เทพธิดาตั้งใจฟังดีอย่างนี้”

“ยิ่งกว่าพลาดอีกค่ะ พระคุณท่าน คนโง่นี่คะ ถึงจะฟังอย่างนี้ก็ยังไม่ได้อยู่นั่นแหละ”

พระสุตธระ ติดใจถามต่อไปอีกว่า “แม้จะพลาดพระสกทาคามี แม่เทพธิดาก็จะต้องได้พระโสดาปัตติผล ไว้เป็นสมบัติใช่ไหม?”

นางเทพธิดาไม่ตอบ ตามวิสัยของพระอริยเจ้า กล่าวเลี่ยงไปว่า “ มีเทพบุตร เทพธิดาบรรลุกันมากค่ะ พระคุณท่าน”

“ทำอย่างไร อาตมาจะได้เห็นแม่เทพธิดา กรุณาแสดงกายให้อาตมาเห็นได้บ้างไหม?”

“อย่าดีกว่าพระคุณท่าน แต่ถ้าพระคุณท่านประสงค์จริงๆ ดิฉันจะแสดงแต่เพียงนิ้วมือ” ว่าแล้วนางเทพธิดาก็ยกนิ้วมือประทับที่ตรงช่องลูกดานประตูวิหาร ด้วยอานุภาพรัศมีนิ้วมือได้แผ่สร้านส่องสว่างไปทั่วบริเวณ ต่อนั้น นางเทพธิดาก็กล่าวเตือนพระสุตธระ ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท มั่นอยู่ในไตรสิกขา ที่สุดก็อำลาจากไปในทันใดนั้น

เรื่องนี้ แสดงว่ามหาสมัยสูตรเป็นมนต์ที่บริบูรณ์ด้วยอรรถพยัญชนะพร้อมด้วยอานุภาพ เป็นสิริมงคล ควรแก่การสดับฟังยิ่งนัก

ประการหนึ่ง อานุภาพของมหาสมัยสูตรนั้น ไม่เพียงแต่จะสร้างความสวัสดีมงคลให้แก่สถานที่และผู้สดับเท่านั้น อานุภาพของมหาสมัยสูตรยังช่วยกำจัด ช่วยบรรเทาเคราะห์ร้าย ภัยพิบัติอุปัทวันตราย ตลอดความอัปรีย์จัญไรโพทัยทิบาตนานาประการอีกด้วย เช่น ลูกอุกาบาต อันมีลักษณะแดงเหมือนดวงไฟ ขนาดโตเท่าผลมะพร้าว หรือผลส้มโอ ลอยจากอากาศตกลงในเวลากลางคืน ถือกันว่า เป็นลางบอกเหตุร้ายจะเกิดขึ้น โบราณก็นิยมอาราธนาพระสงฆ์มาสวดมหาสมัยสูตร เพื่อบรรเทาเหตุร้ายอันจะพึงมีนั้น

เรื่องเช่นนี้เคยลามปามไปถึงชาวบ้านที่นิยมมหาสมัยสูตร ใช้เป็นวิธีลงโทษภิกษุสามเณรที่เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน หากไปสะเพร่าทำบาตรหรือฝาบาตรตกในลานบ้าน ถือว่ากำลังทำเหตุร้ายไม่เป็นมงคลให้แก่บ้านเขา ต้องให้พระเณรรูปนั้นยืนสวดมหาสมัยป้องกันเหตุร้ายให้ ที่บางแห่งกรุณาให้นั่งบนครกตำข้าว ห้อยเท้าเหยียบพื้นดินตรงนั้นสวดดูๆเหมือนจะลงโทษมากไป แต่ก็เป็นผลดีทำให้พระเณรมีการสังวรถือบาตรดีมาก ทั้งเป็นอุบายให้พระเณรขยันท่องมหาสมัยสูตรไว้ ฉวยพลาดพลั้งจะได้สวดให้เขาได้ เป็นการรับเคราะห์จากเขาเอาไปวัด ให้ความสวัสดีแก่เจ้าของบ้าน

แม้ในพระราชพิธีใหญ่ๆ ในพระบรมมหาราชวัง เช่น พิธีตรุษสงกรานต์ แต่ก่อนก็นิยมสวด ทางราชการได้จัดอาราธนาให้พระสวดหนึ่งสำหรับโดยเฉพาะทีเดียว รวมความว่า ในพิธีมงคลใหญ่ นิยมให้สวดมหาสมัยสูตร บัดนี้ ดูห่างๆไป จักเป็นเพราะต้องใช้เวลามาก ด้วยเป็นสูตรใหญ่ โบราณเรียกว่าเป็นมนต์ผูกหนึ่ง แม้ในสมัยนั้น เจ้าภาพก็รู้สึกลำบากใจในเรื่องใช้เวลามาก จะไม่สวดก็เสียดาย จะให้สวดเวลาก็ไม่พอ จึงมีนิยมให้ตัดสวดแต่น้อย สวดเพียง สัฏเฐเต ในท้ายพระสูตร มีจำนวน ๑๒ คาถา

– มูลเหตุของพระสูตรนี้มีเรื่องว่า –

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งทรงปรากฏแก่มวลเทวดาและมนุษย์ว่าเป็นโมลีโลก ซึ่งทรงพระกรุณารื้อขนสัตว์ให้ข้ามจตุรโอฆสงสารนับแต่ทรงมีพระมโนปณิธาน ในอันจะบรรลุถึงซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณก็ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๓๐ ประการได้บริบูรณ์ตามพระพุทธบัณฑูรซึ่งประทานไว้ เป็นเยี่ยงอย่างทั่วไปแก่พุทธบริษัททั่วเมทนีดล ซึ่งทุกๆคนจะต้องบำรุงตน สร้างตนด้วยการศึกษาและการปฏิบัติให้คุณธรรมอันดีก่อน ต่อนั้น จึงค่อยบำเพ็ญตนให้เป็นอากรแห่งประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นสืบไปนี้เป็นวิสัยของบัณฑิตย์ ซึ่งสมเด็จพระธรรมสามิศร์บรมศาสดาได้ทรงบำเพ็ญเป็นเยี่ยงอย่างอันดีมาตั้งแต่ต้นจนอวสาน นับตั้งแต่ทรงกำจัดพญามารและเสนามารให้ปราชัย และทรงบรรลุธรรมมาภิสมัย ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมพุทธเจ้า จัดว่าได้ทรงบำเพ็ญ อัตตทัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่พระองค์เองโดยเฉพาะ

ต่อนั้น ก็ทรงพระมหากรุณาเสด็จเทศนาสั่งสอนเวไนยนิกร ตั้งแต่ทรงประทานธรรมจักรอันบวรปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง ๕ ให้พระโกณทัญญะเถระได้บรรลุโสดา อันนี้จัดว่าทรงบำเพ็ญ โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่โลก คือแก่ประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดชาติชั้นวรรณะ สมพระหฤทัยที่ได้ทรงสละราชสมบัติออกทรงผนวชเนาในพนัศพนมไพร เริ่มเสด็จประดิษฐานพระศาสนาไว้ในมคธรัฐ พอสมควรแก่เวลาแล้วก็ปรารภ ญาตัตจริยาปรารถนาจะทรงทำประโยชน์สุขแก่พระประยูรญาติ ด้วยอำนาจพระเมตตาและกตัญญู จึงสมเด็จพระบรมครูก็เสด็จพระพุทธดำเนินจากเบ็ญจคีรีนคร มีพระสงฆ์สาวกบทจรตามพระยุคคลบาท ๕๐๐ องค์ โดยมรรคาป่าระหงพงพนัศแนวไม้ กำหนดทางไว้ ๖๐ โยชน์ ที่ยาตราโดยผาสุกไม่รีบร้อนก็เสด็จถึงกบิลพัสดุ์ นครโดยสวัสดี

ปจฺจุคมนํ กตฺวา ประชาชนชาวบุรีกบิลพัสดุ์ต่างก็มีความโสมนัส ปิติและปราโมทย์ นับแต่พระเจ้าสิริสุทโธทนะ พระพุทธบิดาลงมา พากันปรีดาต้อนรับเป็นการใหญ่ ด้วยศรัทธาเลื่อมใส พากันรมย์รื่นอยู่ในร่มใบบุญ ทั้งตั้งมั่นอยู่ในธรรมคุณของพระบรมศาสดา ที่ทรงพระมหากรุณาประทานให้

พระพุทธศาสนาเกิดเป็นธงชัยประจำรัฐแห่งกบิลพัสดุ์มหานครเกียรติคุณได้ฟุ้งขจรไปทั่วหล้า ว่าพระพุทธศาสนาเป็นฉัตรชัย ให้ความสงบสุขกายใจแก่ประชาชน จึงคนใจบุญทั้งสองพระนคร คือ กรุงเทวทหะและกรุงกบิลพัสดุ์ ตั้งต้นแต่พระมหากษัตริย์ ลงมาถึงชาวบุรี ต่างก็มีความยินดีพรักพร้อมกันพลีทรัพย์ออกบูชาด้วยน้ำใจงาม สร้างวัดนิโครธาราม ซึ่งใหญ่กว้างและงามตระการด้วยรัตนอันวิจิต น้อมถวายพระธรรมสามิศร์ ให้เสด็จสถิตย์สำราญพระองค์ พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์สาวกบริพารอยู่จำพรรษากาลในวสันตฤดู

ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมครูก็ทรงรับอาราธนา เสด็จอยู่จำพรรษาตามสมควรแก่พระอัธยาศัย วันหนึ่ง เสด็จประทับสำราญพระทัยในป่ามหาวัน ที่อุดมด้วยสันติวิเวก ควรแก่สัลเลขปฏิปทา ของพระอริยสงฆ์ที่ตามเสด็จพระบรมศาสดา ไปยังกุณาละสระโบกขรณีที่รื่นรมย์ ขณะนั้น บรรดามหาพรหมและเทวดาใน ๑๐ โลกธาตุ ก็พากันมาสันนิบาตถวายบังคมพระบรมธรรมสามิศร์ แล้วต่างก็ภาษิตคาถาสรรเสริญ ซึ่งพระพุทธคุณ และสังฆคุณให้เพลิดเพลินแก่สมาคมอันใหญ่ ด้วยมีครั้งเดียวในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงพระมหากรุณาตรัสประทานอมตบทให้พระสงฆ์และเทพเจ้าเอิบอิ่มในอมตรส ดำเนินตามสันติวรบทอันเกษมสันต์

ครั้งนั้น พญามารทราบประพฤติเหตุ ว่าเทวาและเทเวศร์สุดที่จะประมาณ กำลังสดับโลกุตตรธรรมของพระศาสดาจารย์ เพื่อข้ามแก่งแห่งมารวิสัย พญามารก็คุมแค้นในใจเป็นที่สุด จึงสั่งเสนามารให้รีบรุดมาทำลายล้างเทวสมาคม ให้เลิกละมโนรมย์กุศลจิต กลับมาข้องอยู่ในเบญจพิพิธบ่วงมาร ต่างก็สำแดงอาการให้น่าพิลึกสะพึงกลัว ยากที่เทพเจ้าจะประคับประคองจิตของตัวมิให้หวั่นไหว พญามารตบพื้นพสุธาให้ดังสนั่นไกลยิ่งกว่าฟ้าผ่า แสดงอาการดังไฟป่ากำลังลุกลามเข้ามารอบข้างเทวสมาคม ด้วยเดชะมหาสมัยสูตรของพระบรมศาสดา กำบังหูกำบังตามิให้เห็นมิให้ดูมิให้รู้ทุกประการ พญามารและเสนามารก็สำแดงปาฏิหาริย์เหนื่อยเปล่าไม่เป็นผล ต่างก็ล่าทัพกลับเข้าแดนของตนโดยสิ้นฤทธิ์ต่อนั้น สมเด็จพระธรรมสามิศร์ก็ทรงสำแดงปาฏิหาริย์ ให้พระสงฆ์และเทพเจ้าเห็นหมู่เสนามารกำลังปราสนาการหนีไป ด้วยอานุภาพแห่งธรรมมหาสมัยของพระบรมศาสดา ขอมหาสมัยมงคลดังพรรณนามาจงมีแก่มวลพุทธบริษัท ที่มุ่งปฏิบัติตามสมควรแก่วิสัยในกุศล ขอยุติความในมหาสมัยมงคลแต่เพียงนี้ ฯ

มหาสมัยสูตร ครูบาอาจารย์แนะนำ

(หลวงปู่มั่น หลวงปู่ชอบ หลวงปู่สิม หลวงปู่จันทร์เรียน ท่านชอบสวด เนื่องจากบทมหาสมยสูตร เป็นบทสวดที่เทพเทวาในหมื่นจักรวาลนิยมชมชอบเพื่อสดับตรับฟังมากที่สุด ..ครูบาอาจารย์ท่านแนะว่าถ้าใครปราถนาความร่มเย็นผาสุขแห่งจิตใจ ผาสุกปลอดโรคภัย และเจริญรุ่งเรืองขอท้าเลยให้สวดทุกวัน 1 เดือน

“…อย่างมหาสมัยสูตรเรียกว่าเป็นสูตรใหญ่ สูตรสำคัญ

เวลาเทวดาทั้งสิบโลกธาตุมาประชุมกัน

พระองค์ก็แสดงให้เทวดาทั้งหลายที่มาประชุมกัน

นับตั้งแต่กรุงกบิลพัสดุ์ออกไป

พระองค์เทศน์ให้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายฟังว่า

เทวดาในกรุงกบิลพัสดุ์ก็เรียกว่า เพิ่นประจำอยู่นั้นส่วนมากเป็นยักษ์

แล้วก็เทวดาอื่นๆ ก็มา เทวดาที่มีฤทธิ์มีเดชอะไรดีๆ ก็มารวมบ้าง

เป็นการประชุมครั้งใหญ่

เมื่อมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งมาตรัสรู้ในโลกแล้ว

เทวดาทั้งสิบโลกธาตุจะมาประชุม

อย่างที่พระองค์ตรัสเทศน์ว่า เทวดาที่นั้นก็มา เทวดาที่นี้ก็มา

ก็มีฤทธิ์มีเดชอานุภาพอย่างนั้นอย่างนี้ก็มา

เทวดา อินทร์ พรหม เมื่อท่านเสด็จไปที่ไหน ที่นั้นก็เป็นมงคล”

เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์แสดงมหาสมัยสูตรนี้ ปรากฏว่า เฉพาะเทวดาที่ฟังแล้วบรรลุพระอรหัตผลตั้งแสนโกฏิ และที่บรรลุในชั้นธรรมลดหลั่นลงมาอีกสุดจะประมาณได้ ฉะนั้น ถ้าเราช่วยกันสวดมหาสมัยสูตรมากๆ ก็เหมือนการชาร์ตแบต เป็นการให้กำลังเทพเทวดาที่รักษาบ้านรักษาเมืองอยู่ให้มีจิตใจพลิกฟื้น กระปรี้กระเปร่าด้วยโอสถพระพุทธมนต์

และใครสวดมหาสมัยสูตรที่ไหน เทพเทวดาก็จะไปห้อมล้อมอยู่ที่นั่น ฉะนั้น ก่อนหลับ ก่อนนอน ท่านนั่งสวดมนต์อยู่ที่บ้าน ทั้งเทวดารักษาเมือง รักษาบ้านท่าน และเทวดาประจำตัวท่าน ก็จะมาห้อมล้อม แซ่ซ้องสาธุการอำนวยพรให้กับท่าน


ทำนองเสียงบทสวดมหาสมยสูตรโดย : หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
>> https://www.youtube.com/watch?v=ahSRwbfb9iQ

มหาสมัยสูตร
( มหาสะมะยะสูตร )

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสะมิง มะหาวะเน มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ สัพเพเหวะ อะระหันเตหิ ทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ เทวะตา เยภุยเยนะ สันนิปะติตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุ สังฆัญจะฯ อะถะโข จะตุนนัง สุทธาวาสะกายิกานัง เทวานัง เอตะทะโหสิ ฯ

อะยัง โข ภะคะวา สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสะมิง มะหาวะเน มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ สัพเพเหวะ อะระหันเตหิ ทะสะหิ จะโลกะธาตูหิ เทวะตา เยภุยเยนะ สันนิปะตะตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ ยันนูนะ มะยัมปิ เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะเมยยามะ อุปสังกะมิตะวา ภะคะวะโต สันติเก ปัจเจกะ คาถา ภาเสยยามาติ ฯ

อะถะโข ตา เทวะตา เสยยะถาปิ นามะ พะละวา ปุริโส สัมมิญชิตัง วา พาหัง ปะสาเรยยะ ปะสาริตัง วา พาหัง สัมมิญเชยยะ เอวะเมวะ สุทธาวาเสสุ เทเวสุ อันตะราหิตา ภะคะวะโต ปุระโต ปาตุระหังสุ ฯ อะถะโข ตา เทวะตา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตะวา เอกะมันตัง อัฏฐังสุ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข เอกา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ ฯ
มะหาสะมะโย ปะวะนัสะมิง เทวะกายา สะมาคะตา อาคะตัมหะอิมัง ธัมมะสะมะยัง ทักขิตาเยวะ อะปะรา ชิตะสังฆันติ อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวันโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ ตัตระ ภิกขะโว สะมาทะหังสุง จิตตัง อัตตะโน อุชุกะมะกังสุ สาระถีวะเนตตานิคะเหตะวาอินทะริยานิ รักขันติ ปัณฑิตาติฯ
อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ ฯ เฉตะวา ขีลัง เฉตะวา ปะลีฆัง อินทะขีลัง โอหัจจะมะเนชา เต จะรันติ สุทธา วิมะลา จักขุมะตา สุทันตา สุสู นาคาติ ฯ อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ เย เกจิ พุทธัง สะระณัง คะตา เส นะ เต คะมิสสันติ อะปายะภูมิง
ปะหายะ มานุสัง เทหัง เทวะกายัง ปะริปูเรสสันตีติ ฯ

อะถะโข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ เยภุยเยนะ ภิกขะเว ทะสะสุ โลกะธาตูสุ เทวะตา สันนิปะติตา โหนติ ตะถาคะตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ เยปิ เต ภิกขะเว อะเหสุง อะตีตะมัทธานัง อะระหันโต สัมมา สัมพุทธา เตสัมปิ ภะคะวันตานัง เอตะปะระมาเยวะ เทวะตา สันนิปะติตา อะเหสุง เสยยะถาปิ มัยหัง เอตะระหิ เยปิ เต ภิกขะเว ภะวิสสันติ อะนาคะตะมัทธานัง อะระหันโต สัมมาสัมพุทธา เตสัมปิ ภะคะวันตานัง เอตะปะระมาเยวะ เทวะตา สันนิปะติตา ภะวิสสันติฯ

เสยยะถาปิ มัยหัง เอตะระหิ อาจิกขิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ กิตตะยิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ เทสิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ ตังสุณาถะ สาธุกัง มะนะสิ กะโรถะ ภาสิสสามีติ เอวัม ภันเตติ โข เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ ฯ

สิโลกะมะนุกัสสามิ ยัตถะ ภุมมา ตะทัสสิตา เย สิตา คิริคัพภะรัง ปะหิตัตตา สะมาหิตา ปุถู สีหาวะสัลลีนา โลมะหังสาภิสัมภุโน โอทาตะมะนะสา สุทธา วิปปะสันนะมะนาวิลา ภิยโย ปัญจะสะเต ญัตะวา วะเน กาปิละวัตถะเว ตะโต อามันตะยิ
สัตถา สาวะเก สาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา เต วิชานาถะ ภิกขะโว เต จะ อาตัปปะมะกะรุง สุตะวา พุทธัสสะ สาสะนัง เตสัมปาตุระหุ ญานัง อะมะนุสสานะ ทัสสะนัง อัปเปเก สะตะมัททักขุง สะหัสสัง อะถะ สัตตะริง สะตัง เอเก สะหัสสานัง
อะมะนุสสานะมัททะสุง อัปเปเกนันตะมัททักขุง ทิสา สัพพา ผุฎา อะหุง ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ วะวักขิตะวานะ จักขุมา ตะโต อามันตะยิสัตถา สาวะเก สาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา เต วิชานาถะ ภิกขะโว เย โวหัง กิตตะยิสสามิ คิราหิ อะนุปุพพะโส ฯ
สัตตะสะหัสสาวะ ยักขา ภุมมา กาปิละวัตถะวา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
ฉะสะหัสสา เหมะวะตา ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ อิจเจเต โสฬะสะ สะหัสสา ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา
อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

เวสสามิตตา ปัญจะสะตา ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ

กุมภิโร ราชะคะหิโก เวปุลลัสสะ นิเวสะนัง ภิยโย นัง สะตะสะหัสสัง ยักขานัง ปะยิรุปาสะติ กุมภิโร ราชะคะหิโก โสปาคะ สะมิติง วะนัง ฯ
ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ คันธัพพานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ฯ ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
ทักขินัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ กุมภัณฑานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โสฯ ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะมันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ นาคานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โสฯ ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัปปะสาสะติ ยักขานัง อาธิปะติมะหาราชา ยะสัสสิ โสฯ ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฎโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง ฯ จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโร ทิสา ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ วะเน กาปิละวัตถะเว ฯ เตสัง มายาวิโน ทาสา อาคู วัญจะนิกา สะฐา มายา กุเฏณฑุ เวเฏณฑุ วิฏู จะ วิฏุโต สะหะ จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ เทวะสูโต จะ มาตะลิ จิตตะเสโน จะ คันธัพโพ นะโฬราชา ชะโนสะโภ อาคู ปัญจะสิโข เจวะ ติมพะรู
สุริยะวัจฉะสา เอเต จัญเญ จะราชาโน คันธัพพา สะหะ ราชุภิโมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
อะถาคู นาภะสา นาคา เวสาลา สะหะตัจฉะกา กัมพะลัสสะตะรา อาคู ปายาคา สะหะ ญาติภิ ยามุนา ธะตะรัฏฐา จะ อาคู นาคา ยะสัสสิโน เอราวะโณ มะหานาโค โสปาคา สะมิติง วะนัง ฯ
เย นาคะราเช สะหะสา หะรันติ ทิพพา ทิชาปักขิ วิสุทธะจักขู เวหาสะยา เต วะนะมัชฌะปัตตา จิตรา สุปัณณา อิติ เตสะนามัง อะภะยันตะทา นาคะราชา นะมาสี สุปัณณะโต เขมะมะกาสิ พุทโธ สัณหาหิ วาจาหิ อุปวะหะยันตา (อ่าน =อุเปา-หะ-ยัน-ตา)
นาคา สุปัณณา สะระณะมะกังสุ พุทธัง ฯ
ชิตา วะชิระหัตเถนะ สะมุททัง อะสุรา สิตา ภาตะโร วาสะวัสเสเต อิทธิมันโต ยะสัสสิโน กาละกัญชา มะหาภิสมา อะสุรา ทานะเวฆะสา เวปะจิตติ สุจิตติ จะ ปะหาราโท นะมุจี สะหะ สะตัญจะ พะลิปุตตานัง สัพเพ เวโรจะนามะกา สันนัยหิตะวา พะลิง เสนัง ราหุภัททะมุปาคะมุง สะมะโยะทานิ ภัททันเต ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
อาโป จะ เทวา ปะฐะวี จะ เตโช วาโย ตะทาคะมุง วะรุณา วารุณา เทวา โสโม จะ ยะสะสา สะหะ เมตตากะรุณากายิกา อาคู เทวา ยะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
เวณฑู จะ เทวา สะหะลี จะ อะสะมา จะ ทุเว ยะมา จันทัสสู ปะนิสา เทวา จันทะมาคู ปุรักขิตา สุริยัสสูปะนิสา เทวา สุริยะมาคู ปุรักขิตา นักขัตตานิ ปุรักขิตะวา อาคู มันทะพะลาหะกา วะสูนัง วาสะโว เสฏโฐ สักโก ปาคะ ปุรินทะโท ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
อะถาคู สะหะภู เทวา ชะละมัคคิสิขาริวะ อะริฏฐะกา จะ โรชา จะ อุมมา ปุปผะนิภาสิโน วะรุณา สะหะธัมมา จะ อัตจุตา จะ อะเนชะกา สูเลยยะรุจิรา อาคู อาคู วาสะวะเนสิโน
ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
สะมานา มะหาสะมานา มานุสา มานุสุตตะมา ขิฑฑาปะทูสิกา อาคู อาคู มะโนปะทูสิกา อะถาคู หะระโย เทวา เย จะ โลหิตะวาสิโน ปาระคา มะหาปาระคา อาคู เทวา ยะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ มานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
สุกกา กะรุมหา อะรุณา อาคู เวฆะนะสา สะหะ โอทาตะคัยหา ปาโมกขา อาคู เทวา วิจักขะณา สะทามัตตา หาระคะชา มิสสะกา จะ ยะสัสสิโน ถะนะยัง อาคา ปะชุนโน โย ทิสา อะภิวัสสะติ ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต
ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
เขมิยา ตุสิตา ยามา กัฏฐะกา จะ ยะสัสสิโน ลัมพิตะกา ลามะเสฏฐา โชตินามา จะ อาสะวา นิมมานะระติโน อาคู อะถาคู ปะระนิมมิตา ทะเสเต ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง ฯ
สัฏเฐเต เทวะนิกายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน นามันวะเยนะ อาคัญฉุง เยจัญเญ สะทิสา สะหะ ปะวุตถะชาติ มักขีลัง โอฆะติณณะมะนาสะวัง ทักเขโมฆะตะรัง นาคัง จันทังวะ อะสิตาติตัง สุพรัหมา ปะระมัตโต จะ ปุตตา อิทธิมะโต สะหะ สะนังกุมาโร ติสโส จะโส ปาคะ สะมิติง วะนัง ฯ
สะหัสสะพ๎รัหมะโลกานัง มะหาพรัหมาภิติฏฐะติ อุปะปันโน ชุติมันโต ภิสะมากาโย ยะสัสสิโส ทะเสตถะ อิสสะรา อาคู ปัจเจกะวะสะวัตติโน เตสัญจะ มัชฌะโต อาคา หาริโต ปะริวาริโต เต จะ สัพเพ อะภิกกันเต สินเท เทเว สะพรัหมะเก มาระเสนา อะภิกกามิ ปัสสะ กัณหัสสะ มันทิยัง เอถะ คัณหะถะ พันธะถะ ราเคนะ พันธะมัตถุ โว สะมันตา ปะริวาเรถะ มา โว มุญจิตถะ โกจิ นัง อิติ ตัตถะ

มะหาเสโน กัณหะเสนัง อะเปสะยิ ปาณินา ตะละมาหัจจะ สะรัง กัตะวานะ เภระวัง ยะถา ปาวุสสะโก เมโฆ ถะนะยันโต สะวิชชุโก ตะทา โส ปัจจุทาวัตติ สังกุทโธ อะสะยังวะเส ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ วะวักขิตวานะ จักขุมา ตะโต อามันตะยิ

สัตถา สาวะเก สาสะเน ระเต มาระเสนา อะภิกกันตา เต วิชานาถะ ภิกขะโว เต จะ อาตัปปะมะกะรุง สุตะวา พุทธัสสะ สาสะนัง วีตะราเคหิ ปักกามุง เนสัง โลมัมปิ อิญชะยุง สัพเพ วิชิตะสังคามา ภะยาตีตา ยะสัสสิโน โมทันติ สะหะ ภูเตหิ สาวะกา เต ชะเนสุตาติ ฯ

ความหมาย มหาสมัยสูตร
( มหาสะมะยะสูตร )

มหาสมัยสูตร จาก พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
หน้าที่ ๑๙๑ -๑๙๗ หัวข้อที่ ๒๓๕ – ๒๔๖

[ ๒๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิล พัสดุ์ ในสักก
ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วน เป็นพระอรหันต์ ก็พวกเทวดาจาก
โลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนา พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ ฯ

ครั้งนั้น เทวดาชั้นสุทธาวาส ๔ องค์ ได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาค พระองค์นี้แล
ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ ก็พวก เทวดาจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อ
ทัศนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุ สงฆ์ ไฉนหนอ แม้พวกเราก็ควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นแล้ว พึงกล่าวคาถาเฉพาะองค์ละคาถา ในสำนักพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น
เทวดา พวกนั้น หายไป ณ เทวโลกชั้นสุทธาวาสแล้วมาปรากฏเบื้องพระพักตร์พระผู้มี พระภาค
เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ออก หรือคู้แขนที่เหยียดออกเข้า ฉะนั้น เทวดาพวก
นั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวคาถา
นี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า

[ ๒๓๖] การประชุมใหญ่ในป่าใหญ่ หมู่เทวดามาประชุมกันแล้วพวกเรา
พากันมาสู่ธรรมสมัยนี้ เพื่อได้เห็นหมู่ท่านผู้ชนะมาร ฯ

[ ๒๓๗] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มี พระภาคว่า
ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น มั่นคง กระทำจิตของตนๆ ให้ ตรง บัณฑิต
ทั้งหลาย ย่อมรักษาอินทรีย์ เหมือนสารถีถือบังเหียนขับม้า ฉะนั้น ฯ

[ ๒๓๘] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนัก พระผู้มีพระภาคว่า
ภิกษุเหล่านั้น ตัดกิเลสดุจตะปู ตัดกิเลสดุจลิ่มสลัก ถอน กิเลสดุจ
เสาเขื่อนได้แล้ว เป็นผู้ไม่หวั่นไหว หมดจด ปราศ จากมลทิน เที่ยวไป
ท่านเป็นหมู่นาคหนุ่ม อันพระผู้มีพระภาค ผู้มีจักษุทรงฝึกดีแล้ว ฯ

[ ๒๓๙] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนัก พระผู้มีพระภาคว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นสรณะ เขาจัก ไม่ไป
อบายภูมิ ละกายมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้บริบูรณ์ ฯ

[ ๒๔๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเทวดาในโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อทัศนา ตถาคตและภิกษุสงฆ์ พวก
เทวดาประมาณเท่านี้แหละได้ประชุมกัน เพื่อทัศนา พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่ง
ได้มีแล้วในอดีตกาล เหมือนที่ ประชุมกันเพื่อทัศนาเราในบัดนี้ พวกเทวดาประมาณเท่านี้แหละ
จักประชุมกันเพื่อ ทัศนาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจักมีในอนาคตกาล เหมือนที่ประชุมกัน
เพื่อทัศนาเราในบัดนี้ เราจักบอกนามพวกเทวดา เราจักระบุนามพวกเทวดา เราจักแสดงนาม
พวกเทวดา พวกเธอจงฟังเรื่องนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระ
ภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส พระคาถานี้ว่า

[ ๒๔๑] เราจักร้อยกรองโศลก ภุมมเทวดาอาศัยอยู่ ณ ที่ใด พวกภิกษุก็
อาศัยที่นั้น ภิกษุพวกใดอาศัยซอกเขา ส่งตนไปแล้ว มีจิตตั้งมั่น ภิกษุ
พวกนั้น เป็นอันมาก เร้นอยู่ เหมือนราชสีห์ ครอบงำความขนพองสยอง
เกล้าเสียได้ มีใจผุดผ่อง เป็นผู้ หมดจด ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว พระ
ศาสดาทรงทราบภิกษุประมาณ ๕๐๐ เศษ ที่อยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนคร
กบิล พัสดุ์ แต่นั้นจึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีในพระศาสนา ตรัสว่า ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดามุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น ภิกษุ
เหล่านั้นสดับรับสั่งของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้ กระทำความเพียร ญาณเป็น
เครื่องเห็นพวกอมนุษย์ ได้ปรากฏแก่ ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวก ได้
เห็นอมนุษย์ร้อยหนึ่ง บางพวก ได้เห็นอมนุษย์พันหนึ่ง บางพวกได้เห็น
อมนุษย์เจ็ดหมื่น บาง พวกได้เห็นอมนุษย์หนึ่งแสน บางพวกได้เห็นไม่มี
ที่สุด อมนุษย์ได้แผ่ไปทั่วทิศ พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงใคร่ครวญ
ทราบเหตุนั้นสิ้นแล้ว แต่นั้น จึงตรัสเรียกสาวกผู้ยินดีใน พระศาสนา

ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่เทวดามุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่
เทวดานั้น เราจักบอกพวกเธอด้วยวาจา ตามลำดับ ยักษ์เจ็ดพันเป็นภุมม
เทวดาอาศัยอยู่ในพระนคร กบิลพัสดุ์ มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ
ยินดี มุ่งมายัง ป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์หกพันอยู่ที่เขาเหมวตา
มี รัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็น
ที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์สามพันอยู่ที่เขา สาตาคีรี มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์
มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ
ยักษ์เหล่านั้นรวม เป็นหนึ่งหมื่นหกพัน มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ
มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ยักษ์ ห้าร้อย
อยู่ที่เขาเวสสามิตตะ มีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มี อานุภาพ มีรัศมี มียศ
ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุม ของภิกษุ ยักษ์ชื่อกุมภีระอยู่ในพระนคร
ราชคฤห์ เขาเวปุลละ เป็นที่อยู่ของยักษ์นั้น ยักษ์แสนเศษแวดล้อมยักษ์
ชื่อกุมภีระ นั้น ยักษ์ชื่อกุมภีระอยู่ในพระนครราชคฤห์แม้นั้น ก็ได้มายัง
ป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ

[ ๒๔๒] ท้าวธตรัฏฐ อยู่ด้านทิศบูรพา ปกครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์
เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า อินท มีกำลังมาก
มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของ
ภิกษุ ท้าววิรุฬหกอยู่ด้านทิศทักษิณ ปกครองทิศนั้นเป็นอธิบดีของพวก
กุมภัณฑ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า อินท
มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายัง ป่าอันเป็นที่
ประชุมของภิกษุ ท้าววิรูปักษ์ อยู่ด้านทิศปัจจิม ปก ครองทิศนั้นเป็น
อธิบดีของพวกนาค เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก มีนามว่า
อินท มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มี อานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่า
อันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ท้าวกุเวรอยู่ด้านทิศอุดร ปกครองทิศนั้น
เป็นอธิบดีของพวก ยักษ์ เธอเป็นมหาราช มียศ แม้บุตรของเธอก็มาก
มีนามว่าอินท มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี
มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ท้าวธตรัฏฐเป็นใหญ่ทิศ บูรพา ท้าว
วิรุฬหก เป็นใหญ่ทิศทักษิณ ท้าววิรูปักษ์เป็นใหญ่ ทิศปัจจิม ท้าวกุเวร
เป็นใหญ่ทิศอุดร ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ยังทิศทั้ง ๔ โดยรอบให้รุ่งเรือง
ได้ยืนอยู่แล้วในป่าเขตพระ นครกบิลพัสดุ์ ฯ
[ ๒๔๓] พวกบ่าวของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น มีมายา ล่อลวง โอ้อวด เจ้าเล่ห์ มา
ด้วยกัน มีชื่อคือกุเฏณฑุ ๑ เวเฏณฑุ ๑ วิฏ ๑ วิฏฏะ ๑ จันทนะ ๑
กามเสฏฐะ ๑ กินนุฆัณฑุ ๑ นิฆัณฑุ ๑ และท้าวเทวราชทั้งหลายผู้มีนาม
ว่าปนาทะ ๑ โอป มัญญะ ๑ เทพสารถีมีนามว่า มาตลิ ๑ จิตตเสนะ ผู้คน
ธรรพ์ ๑ นโฬราชะ ๑ ชโนสภะ ๑ ปัญจสิขะ ๑ ติมพรู ๑ สุริยวัจฉสา
เทพธิดา ๑ มาทั้งนั้น ราชาและคนธรรพ์พวกนั้น และพวกอื่น กับเทวราช
ทั้งหลายยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุอนึ่งเหล่านาคที่อยู่ใน
สระชื่อนภสะบ้าง อยู่ในเมืองเวสาลีบ้าง พร้อมด้วยนาคบริษัทเหล่าตัจฉกะ
กัมพลนาค และอัสสตรนาคก็มา นาคผู้อยู่ในท่า ชื่อปายาคะ กับ
ญาติ ก็มา นาคผู้อยู่ใน แม่น้ำยมุนา เกิดในสกุลธตรัฏฐ ผู้มียศ ก็มา
เอราวัณเทพบุตรผู้เป็นช้างใหญ่ แม้นั้นก็มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ
[ ๒๔๔] ปักษีทวิชาติผู้เป็นทิพย์ มีนัยน์ตาบริสุทธิ์ นำนาคราชไปได้ โดยพลันนั้น
มาโดยทางอากาศถึงท่ามกลางป่า ชื่อของปักษีนั้นว่า จิตรสุบรรณ ใน
เวลานั้น นาคราชทั้งหลาย ไม่ได้มีความ กลัว พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำ
ให้ปลอดภัยจากครุฑ นาคกับ ครุฑเจรจากัน ด้วยวาจาอันไพเราะ กระทำ
พระพุทธเจ้าให้เป็นสรณะ พวกอสูรอาศัยสมุทรอยู่ อันท้าววชิรหันถ์รบ
ชนะแล้ว เป็นพี่น้องของท้าววาสพ มีฤทธิ์ มียศ เหล่านี้คือพวก กาล
กัญชอสูร มีกายใหญ่น่ากลัวก็มา พวกทานเวฆสอสูรก็มา เวปจิตติอสูร
สุจิตติอสูร ปหาราทอสูร และนมุจีพระยามารก็มาด้วยกัน บุตรของ
พลิอสูรหนึ่งร้อย มีชื่อว่าไพโรจน์ทั้งหมดผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกำลัง
เข้าไปใกล้อสุรินทราหู แล้วกล่าว ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ บัดนี้ เป็นสมัยที่
จะประชุมกัน ดังนี้แล้ว เข้าไปยังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ
[ ๒๔๕] ในเวลานั้น เทวดาทั้งหลาย ชื่ออาโป ชื่อปฐวี ชื่อเตโช ชื่อวาโย ได้
พากันมาแล้ว เทวดา ชื่อวรุณะ ชื่อวารุณะ ชื่อโสมะ ชื่อยสสะ
ก็มาด้วยกัน เทวดาผู้บังเกิดในหมู่เทวดาด้วยเมตตาและกรุณาฌาน เป็นผู้
มียศ ก็มา หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่าง ๆ
กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุม
ของภิกษุ เทวดา ชื่อเวณฑู ชื่อสหลี ชื่ออสมา ชื่อยมะ ทั้งสองพวก
ก็มา เทวดาผู้อาศัยพระจันทร์ กระทำพระจันทร์ไว้ในเบื้องหน้าก็มา เทวดา
ผู้อาศัยพระอาทิตย์ กระทำพระอาทิตย์ไว้ในเบื้องหน้าก็มา เทวดากระทำ
นักษัตรไว้ใน เบื้องหน้าก็มา มันทพลาหกเทวดาก็มา แม้ท้าวสักกปุรินท
ทวาสวะ ซึ่งประเสริฐกว่าสุเทวดาทั้งหลายก็เสด็จมา หมู่เทวดา ๑๐
เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์มีอานุภาพ
มีรัศมี ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ อนึ่งเทวดาชื่อสหภู
ผู้รุ่งเรืองดุจเปลวไฟก็มา เทวดาชื่ออริฏฐกะ ชื่อโรชะ มีรัศมีดังสีดอก
ผักตบก็มา เทวดาชื่อวรุณะ ชื่อสหธรรมชื่ออัจจุตะ ชื่ออเนชกะ ชื่อ
สุเลยยะ ชื่อรุจิระก็มา เทวดา ชื่อวาสวเนสีก็มา หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้
เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมด ล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี
มียศ ยินดี มุ่ง มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ เทวดาชื่อสมานะ ชื่อ
มหาสมานะ ชื่อมานุสะ ชื่อมานุสุตตมะ ชื่อขิฑฑาปทูสิกะ ก็มา เทวดา
ชื่อมโนปทูสิกะก็มา อนึ่ง เทวดาชื่อหริ เทวดาชื่อโลหิต วาสี ชื่อปารคะ
ชื่อมหาปารคะ ผู้มียศ ก็มา หมู่เทวดา ๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก
ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี
มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ เทวดา ชื่อสุกกะ ชื่อกรุมหะ ชื่อ
อรุณะ ชื่อเวฆนสะก็มาด้วยกันเทวดาชื่อโอทาตคัยหะ ผู้เป็นหัวหน้า
เทวดาชื่อวิจักขณะ ก็มา เทวดาชื่อสทามัตตะ ชื่อหารคชะ และชื่อมิสสกะ
ผู้มียศ ก็มา ปชุนนเทวบุตร ซึ่งคำรามให้ฝนตกทั่วทิศก็มา หมู่เทวดา
๑๐ เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มี
อานุภาพ มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ
เทวดาชื่อเขมิยะ เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นยามะ และเทวดาชื่อกัฏฐกะ
มียศ เทวดาชื่อลัมพิตกะ ชื่อลามเสฏฐะ ชื่อโชตินามะ ชื่ออาสา และ
เทวดาชั้นนิมมานรดีก็มา อนึ่ง เทวดาชั้นปรนิมมิตะก็มา หมู่เทวดา ๑๐
เหล่านี้ เป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ
มีรัศมี มียศ ยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ หมู่เทวดา ๖๐
เหล่านี้ ทั้งหมดล้วนมีรัศมีต่างๆ กัน มาแล้วโดยกำหนดชื่อ และ เทวดา
เหล่าอื่นผู้เช่นกัน มาพร้อมกันด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจัก เห็นพระนาค
ผู้ปราศจากชาติ ไม่มีกิเลสดุจตะปู มีโอฆะอัน ข้ามแล้ว ไม่มีอาสวะ
ข้ามพ้นโอฆะ ผู้ล่วงความยึดถือได้แล้ว ดุจพระจันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น. ฯ
[ ๒๔๖] สุพรหมและปรมัตตพรหม ซึ่งเป็นบุตรของพระพุทธเจ้าผู้มี ฤทธิ์ ก็มาด้วย
สนังกุมารพรหม และติสสพรหมแม้นั้น ก็มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของ
ภิกษุ ท้าวมหาพรหมย่อมปกครอง พรหมโลกพันหนึ่ง ท้าวมหาพรหมนั้น
บังเกิดแล้วในพรหมโลก มีอานุภาพ มีกายใหญ่โต มียศ ก็มา พรหม
๑๐ พวก ผู้เป็น อิสระในพวกพรหมพันหนึ่ง มีอำนาจเป็นไปเฉพาะองค์
ละอย่างก็มา มหาพรหมชื่อหาริตะ อันบริวารแวดล้อมแล้ว มาในท่าม
กลางพรหมเหล่านั้น มารเสนา ได้เห็นพวกเทวดา พร้อมทั้ง พระอินทร์
พระพรหมทั้งหมดนั้น ผู้มุ่งมา ก็มาด้วย แล้วกล่าวว่าท่านจงดูความ
เขลาของมาร พระยามารกล่าวว่า พวกท่านจงมาจับ เทวดาเหล่านี้ผูกไว้
ความผูกด้วยราคะ จงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงล้อมไว้โดยรอบ อย่า
ปล่อยใครๆ ไป พระยามารบัง คับเสนามารในที่ประชุมนั้นดังนี้แล้ว
เอาฝ่ามือตบแผ่นดิน กระทำเสียงน่ากลัว เหมือนเมฆยังฝนให้ตก คำราม
อยู่ พร้อมทั้ง ฟ้าแลบ ฉะนั้น เวลานั้น พระยามารนั้นไม่อาจยังใครให้
เป็นไป ในอำนาจได้ โกรธจัด กลับไปแล้ว พระศาสดาผู้มีพระจักษุทรง
พิจารณาทราบเหตุนั้นทั้งหมด แต่นั้น จึงตรัสเรียกสาวกผู้ ยินดีในพระ
ศาสนาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารเสนามาแล้ว พวกเธอจงรู้จักเขา
ภิกษุเหล่านั้นสดับพระดำรัสสอนของพระ พุทธเจ้าแล้ว ได้กระทำความ
เพียร ม ารและเสนามารหลีกไป จากภิกษุผู้ปราศจากราคะ ไม่ยังแม้ขน
ของท่านให้ไหว ( พระยามารกล่าวสรรเสริญว่า) พวกสาวกของพระองค์
ทั้งหมดชนะ สงครามแล้ว ล่วงความกลัวได้แล้ว มียศปรากฏในหมู่ชน
บันเทิงอยู่กับด้วยพระอริยเจ้า ผู้เกิดแล้วในพระศาสนา ดังนี้แล. ฯ

-จบมหาสมัยสูตร-

• ปูรณมีแห่งฤกษ์ •
พระอาจารย์กฤษฎาให้ฤกษ์จุดเทียนบูชา
❛เทียนมหาโสฬสมงคล❜
และ ❛เทียนคู่ชีวิตมหาโสฬสมงคล❜
สะเดาะเคราะห์ สืบชะตา ยกดวงดับกรรม บูชาโชค

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2567
ขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก ปีมะโรง
วันวิสาขบูชา
เวลา 22.22 น.
ณ.พระธาตุศรีจอมไคล
วิหารสะเดาะเคราะห์พระเจ้าพันองค์
** แอ่งพลังงานศักดิ์สิทธิ์เขลางค์นคร **

เทียนมหาโสฬสมงคล
เทียนสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา ยกดวง บูชาโชค

ประสงค์บูชาฤกษ์จุดเทียนมหาโสฬสมงคล
แจ้งบูชาฤกษ์ที่นี่ >> https://lin.ee/2Jj9RKH

Line : @namotasa (ติดต่อ : แอดมินคุณหมิง)

ติดต่อบูชา LINE : @namotasa

You cannot copy content of this page